Xiyao

Wang

China
1992

Xiyao Wang was born in 1992 in Chongqing, China. The young artist lives and works in Berlin. Wang’s abstract painting can best be described as movementcaptured on canvas, as expressing a feeling of boundlessness and unbridled life energy. She combines various techniques such as oil and acrylic painting, chalk, graphite and oil sticks. Although her expressive lines draw on the tradition of Asian masters, she works without the classic materials of her homeland.

For Wang, who grew up in modest circumstances in a small country town on the Yangtze River in Southwest China, art was of central importance right from the start– her father is also an artist. Being not only talented, but also hard-working andambitious, she was accepted to study art at the renowned Sichuan Fine ArtsInstitute when she was eighteen. After graduating at the age of twenty-two, sheemigrated to Germany to discover new perspectives and broaden her view ofpainting, studying art for a further five years, three of them with Werner Büttner.

Wang prefers abstract painting as her direct and only form of expression. For her, a work usually begins with intensive inspiration, triggered either by external impressionsor by her own thoughts and feelings. This inspiration then flows directly into herexploration of form; the artist describes her artistic work as a nearly bodiless process, as if her soul is floating in the air while everything else becomes unimportant. Freefrom all constraint, lines weave together that find themselves in a constant state offlow, transformation and flight, seemingly wanting to break out of the frame.

Wang sees different materials as being like different people, each with its own personality and its own character. She combines a wide range of techniques, whichcomplement each other superbly in her works. Wang invites everyone to unlock their very own imaginative spaces in her paintings, feeling free to discover her work forthemselves and to connect it with their own story. Her works have an ability to sweepthe viewer along, allowing a journey into the depths of the picture. Contrasting starkly with European abstract art, Wang's lines are loaded with positive energy. In theChinese artistic tradition, she admits the beauty and joie de vivre which western arthas long since consciously encased in bitterness. Her paintings are a delicate, semi- conscious dance that inspires a feeling of happiness in the viewer, like being touchedby nature, akin to how one might feel in springtime.

Looking at the various phases of Wang's work, you can see that she has stayed true to her principles for years. Each individual painting is an important element in herbody of work. What links them all is a common approach and Wang’s striving to givevoice to her own strong inspiration in each piece.

Text by T. R. Böse, art historian – Berlin, 2021

เชี่ยว หวางเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ศิลปินรุ่นใหม่คนนี้พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ภาพเขียนแนวนามธรรมของหวางอาจอธิบายได้ว่าเป็นการจับความเคลื่อนไหวบนผืนผ้าใบ แสดงความรู้สึกอิสระไร้พรมแดนและพลังชีวิตที่ไร้การบังคับควบคุม เธอผสมผสานเทคนิคหลากหลายในการทำงาน เช่น การเขียนภาพด้วยสีน้ำมันและอะครีลิค ชอล์ค แกรไฟต์และแท่งสีน้ำมัน ถึงแม้ว่าลายเส้นที่ชัดเจนของเธอจะมีรากฐานมาจากขนบการวาดภาพของศิลปินเอเชียระดับปรมาจารย์แต่เธอก็ทำงานศิลปะโดยไม่ได้อาศัยเนื้อหาแบบเดิม ๆ จากประเทศบ้านเกิด

หวางเติบโตขึ้นในครอบครัวฐานะปานกลางในเมืองเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียงทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ศิลปะมีบทบาทสำคัญยิ่งตั้งแต่เริ่ม พ่อของเธอเองก็เป็นศิลปิน นอกจากจะมีพรสวรรค์แล้วเธอยังขยันขันแข็งและทะเยอทะยานด้วย เมื่ออายุ 18 ปีหวางได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งมณฑลเสฉวนอันทรงเกียรติ หลังจบการศึกษาเมื่ออายุ 22 ปีเธอย้ายไปอยู่ประเทศเยอรมนีเพื่อแสวงหามุมมองใหม่ ๆ และเปิดโลกทัศน์ของเธอในด้านงานจิตรกรรม เธอเรียนศิลปะต่ออีก 5 ปีโดยเรียนกับแวร์เนอร์
บึทท์เนอร์อยู่ 3 ปี

หวางใช้ภาพเขียนแนวนามธรรมเป็นรูปแบบการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาและเพียงอย่างเดียวของเธอ สำหรับเธอแล้วงานชิ้นหนึ่ง ๆ จะเริ่มจากแรงบันดาลใจที่แรงกล้ากระตุ้นด้วยความประทับใจต่อสิ่งที่อยู่นอกตัวหรือ ความคิดและความรู้สึกของเธอเอง ต่อมาแรงบันดาลใจนี้ก็จะผ่านตรงเข้าสู่การสำรวจรูปแบบของเธอ หวางอธิบายการทำงานศิลปะของเธอว่าเป็นกระบวนการที่เกือบไม่มีรูปร่าง ราวกับว่าจิตวิญญาณของเธอลอยล่องกลางอากาศขณะที่สิ่งอื่น ๆ หมดความสำคัญไป ลายเส้นต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระจากข้อจำกัดทั้งหลายมาประสานกันในสภาวะการไหลลื่น การเปลี่ยนแปลงและการหลบหนีราวกับว่าต้องการหลุดออกจากกรอบภาพ

หวางเชื่อว่าเนื้อหาที่แตกต่างกันก็เหมือนผู้คนที่แตกต่างกัน แต่ละคนมีบุคลิกเฉพาะตัว มีนิสัยไม่เหมือนใคร เธอผสมผสานเทคนิคหลากหลายซึ่งสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างยอดเยี่ยมในงานของเธอ หวางเชิญชวนให้ทุกคนเปิดพื้นที่แห่งจินตนาการของแต่ละคนในงานจิตรกรรมของเธอ มีอิสระที่จะค้นหาความหมายในงานของเธอด้วยตัวเองและเชื่อมโยงกับเรื่องราวของแต่ละคน ผลงานของเธอมีพลังที่จะพาผู้ชมเดินทางไปยังก้นบึ้งของภาพ แตกต่างจากงานศิลปะนามธรรมของยุโรป ลายเส้นของหวางเต็มไปด้วยพลังทางบวก ตามขนบการทำงานศิลปะของจีนหวางยอมรับความงามและ ความหรรษาในชีวิต ซึ่งศิลปะตะวันตกหุ้มห่อด้วยความขมขื่นมานานแล้ว งานจิตรกรรมของเธอเป็นการเต้นรำแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นที่ละเอียดอ่อน สร้างความสุขให้ผู้ชม เหมือนถูกธรรมชาติสัมผัส ราวกับความรู้สึกของเราในฤดูใบไม้ผลิ

เพื่อพิจารณาผลงานของหวางในระยะต่าง ๆ ของการทำงานที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเธอยังคงใช้หลักการเดิมอยู่เป็นเวลาหลายปี ภาพเขียนแต่ชิ้นเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลงานทั้งหมดของเธอ สิ่งที่เชื่อมโยงงานทั้งมดก็คือแนวทางที่มีร่วมกันและความมุ่งมั่นของหวางที่จะสะท้อนแรงบันดาลใจอันแรงกล้าของงานแต่ละชิ้นออกมา

เขียนโดย เต แอร์ เบอส, นักประวัติศาสตร์ศิลปะ – เบอร์ลิน, พ.ศ. 2564

On Display at BAB2024
No items found.