The Spirits of Maritime Crossing is an experimental short film that links Venice and Bangkok through a journey of a wandering spirit played by internationally renowned performance artist Marina Abramović. Written and directed by Prof. Dr. Apinan Poshyananda, Artistic Director of Bangkok Art Biennale, the film tells a story of a search for refuge and internal peace. On Abramovic’s ghostly voyage she encounters symbolic figures and visits sacred places. Through rituals, encounters, and teachings, she realises the departure of her soul from her body and finds relief. The film concludes with Abramovic’s contemplation in Venice, symbolising the end of her transformative quest.
The story unfolds as Abramovic emerges from San Michele, an intermediate realm full of graves that symbolises the intersection between life and death. At Piazza San Marco, she immerses herself in the crowd, draped in black. The choice of attire represents the profound anguish of humanity, encompassing the pains of war, violence and illness.
By the enchanting banks of Bangkok’s Chao Phraya River, Abramovic encounters a shadow puppeteer and his troupe, who perform politically satirical scenes, alluding to the ongoing global conflicts. Prompted by the puppeteer, Abramovic embarks on a quest to find the Monkey Master, guided by a little monkey. Navigating the canals of Bangkok Yai, the Venice of the East, Abramovic and her simian companion arrive at a Venetian Revival structure – the Monkey Master’s Den. Abramovic is blessed by the Master as he gives her a pure white robe, representing purity and rebirth. Continuing the spiritual odyssey, the duo embarks on a pilgrimage through Bangkok, visiting the sacred Sri Maha Mariamman Hindu temple, the captivating Mangkon Kamalawat Chinese temple, and a mystical tattoo den. The journey culminates at the Temple of the Reclining Buddha, where a monk enlightens Abramovic about liberating her sorrowful soul. In a transformative moment, she realises her soul has transcended her physical form and experiences the sense of relief.
Returning to Venice beneath the iconic Bridge of Sighs, Abramovic, now dressed in white, sits alone in a gondola. Embracing solitude, she stands in the breeze of the maritime crossing, gazing at the sacred Santa Maria della Salute, gradually fading into ethereal realms.
“The Spirits of Maritime Crossing” เป็นภาพยนตร์สั้นเชิงทดลองที่เชื่อมโยงเวนิสและกรุงเทพ มหานครเข้าผ่านการเดินทางของวิญญาณเร่ร่อนดวงหนึ่งที่แสดงโดยศิลปินเพอร์ฟอร์แมนซ์อาร์ตระดับโลก มารีน่า อบราโมวิช ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้เขียนและกำกับโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการ และผู้อำนวยการศิลป์บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ บอกเล่าเรื่องราวการ ค้นหาที่หลบภัยและความสงบภายในจิตใจ ในระหว่างการเดินทางอันน่าขนลุก อบราโมวิชพบเจอ ตัวละครที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์และได้เยี่ยมเยียนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง หลังได้ร่วม พิธีกรรม พบปะบุคคลต่าง ๆ และเรียนรู้ถึงคำสอน เธอตระหนักว่าจิตวิญญาณได้ออกจากร่าง และค้นพบความผ่อนคลายในที่สุด ในตอนจบของภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ อบราโมวิชได้หยุดคิดคำนึง ที่เมืองเวนิส สะท้อนถึงการสิ้นสุดภารกิจแห่งการเปลี่ยนผ่านทางจิตวิญญาณ
เรื่องราวของวิญญาณดวงนี้เริ่มขึ้นเมื่ออบราโมวิชปรากฎตัวขึ้น ณ เซนต์มิเกล ดินแดนกึ่งกลาง ที่เต็มไปด้วยหลุมศพซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงการบรรจบกันของความเป็นและความตาย จากนั้นเธอ ปรากฏตัวขึ้นท่ามกลางฝูงชน ณ จัตุรัสเปียซซ่าซานมาร์โค โดยแต่งชุดดำทั้งตัว เครื่องแต่งกาย เช่นนี้สะท้อนถึงความรวดร้าวที่มีต่อมนุษยชาติ อันเกิดจากความเจ็บช้ำจากสงคราม ความรุนแรง และ โรคภัยไข้เจ็บ
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อบราโมวิช พบเจอกับนักเชิดหุ่นเงาและคณะซึ่งแสดงฉากละครเสียด สีการเมือง พาดพิงถึงความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในโลก เมื่อได้รับการกระตุ้นจากนักเชิดหุ่น อบราโมวิช ออกเดินทางในภารกิจค้นหาพญาวานร พร้อมกับลิงน้อยตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง ทั้งคู่เดินทาง ผ่านคลองบางกอกใหญ่ที่ได้รับการขนานนามว่า “เวนิสแห่งตะวันออก” จนมาถึงสิ่งก่อสร้างในสไตล์ เวเนเชียน รีไวเวิล (Venetian Revival) อันเป็นที่อยู่ของพญาวานร อบราโมวิชได้รับการ อวยพรจากพญาวานร ผู้มอบผ้าขาวที่เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์และการเกิดใหม่ เมื่อการเดินทางของจิตวิญญาณดำเนินต่อไป ทั้งคู่ได้แสวงบุญมาถึงกรุงเทพมหานครและเยี่ยมเยือนวัดในศาสนาฮินดู “พระศรีมหาอุมาเทวี” วัดจีน “มังกรกมลาวาส” และสำนักสักยันต์แห่งหนึ่ง สุดท้ายการเดินทางดำเนินมาถึงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ที่ซึ่งพระสงฆ์ได้ชี้ทางสว่างให้อบราโมวิชได้เข้าใจถึงการปลดปล่อยวิญญาณอันเต็มไปด้วยความเศร้าโศก ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน อบราโมวิชตระหนักว่าจิตวิญญาณของเธอได้แยกจากกายเนื้อและสัมผัสความผ่อนคลายอย่างแท้จริง
หลังกลับมาถึงใต้สะพานแห่งความอาดูรและหวนหา (Bridge of Sighs) อันเป็นเอกลักษณ์ของเวนิส อบราโมวิชสวมชุดขาวนั่งเพียงลำพังในเรือกอนโดล่า เธอโอบกอดความสันโดษไว้และยืนขึ้นท่ามกลางสายลมที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมา เธอทอดสายตาไปยังมหาวิหารซานตามารียา เดลล่า ซาลูเต อันศักดิ์สิทธิ์ และค่อย ๆ จางหายเข้าสู่ดินแดนแห่งวิญญาณ