Busui

Ajaw

Myanmar
Thailand
1986

Busui Ajaw is a self-taught painter whose works draw from her experiences as a woman in the contemporary world, a mother, as well as her roots as an Akha hill tribe ethnic group. Since the age of 15, Ajaw has developed an expressive painterly language to communicate both the seen and the unseen, the material and the psychological.

Born in a remote mountainous Zomia region of Myanmar to a family of shamans and artisans, Ajaw and her family were forced to flee their land and village as a young child due to a military invasion. Her practice always relates to her unique upbringing and often reflects autobiographical details with emotional depth. In some series, she depicts stories from Akha oral history and myths, traditionally, and for centuries told through songs or by village elders. By illuminating these narratives and the Akha way of life, particularly the roles of women, Ajaw's work becomes an homage to womanhood. Recently, she has expanded her practice to include wooden sculpture and installations.

Busui Ajaw lives and works in Chiang Rai, Thailand. Her notable exhibitions include Mother: Amamata (2023, nca | nichido contemporary art, Tokyo, Japan); Thailand Biennale Chiang Rai (2023); and Singapore Biennale (2020).

บู้ซือ อาจอเป็นจิตรกรที่ศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง เนื้อหาในผลงานของเธอมาจากประสบการณ์ความเป็นผู้หญิงในสังคมร่วมสมัย ความเป็นแม่ตลอดจนรากเหง้าความเป็นชาวเขาเผ่าอาข่าของเธอ ตั้งแต่เริ่มทำงานศิลปะเมื่ออายุ 15 ปี อาจอได้พัฒนาภาษาทางจิตรกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อสื่อสารทั้งสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น สิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่ต้องอาศัยจิตวิทยา

อาจอเกิดในเขตโซเมียหรือเขตภูมิศาสตร์เขาสูงแห่งเอเชียอันห่างไกลในประเทศเมียนมา ครอบครัวเธอเป็นคนทรงและเป็นช่างฝีมือ เธอและครอบครัวต้องหนีออกจากแผ่นดินเกิดและหมู่บ้านตั้งแต่เธอยังเล็กเนื่องจากการบุกรุกของทหาร การทำงานศิลปะของอาจอเกี่ยวข้องกับการเติบโตที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอและมีรายละเอียดที่มีความเป็นอัตชีวประวัติและความลึกซึ้งทางอารมณ์เสมอ ในงานบางชุดเธอนำเสนอเรื่องราวที่มาจากประวัติศาสตร์และตำนานมุขปาฐะของอาข่าที่เล่าขานสืบต่อกันมาหลายศตวรรษโดยผ่านบทเพลงและผู้อาวุโสในหมู่บ้าน

ด้วยการสร้างความกระจ่างให้เรื่องเล่าเหล่านี้และวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอาข่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของผู้หญิง ผลงานของอาจอกลายเป็นการเทิดทูนความเป็นผู้หญิง ในช่วงหลังมานี้เธอได้ขยายขอบเขตการทำงานศิลปะโดยทำงานประติมากรรมไม้และศิลปะจัดวางด้วย

บู้ซือ อาจอพำนักและทำงานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย การจัดแสดงงานในนิทรรศการครั้งสำคัญ ๆ อาทิ Mother: Amamata (เอ็นซีเอ | หอศิลป์ร่วมสมัยนิชิโดะ, โตเกียว, ญี่ปุ่น,พ.ศ. 2566) ไทยแลนด์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2566, เชียงราย) และสิงคโปร์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2563)

On Display at BAB2024
No items found.