Amamata the First Mom

(
2023
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Acrylic on canvas
Displayed at
Bangkok Art and Culture Centre

Since the age of 15, Busui Ajaw is a self-taught painter whose works draw from her experiences as a woman in the contemporary world, a mother, as well as her roots as an Akha hill tribe ethnic group. Born in a remote mountainous Zomia region of Myanmar to a family of shamans and artisans, Ajaw and her family were forced to flee their land and village as a young child due to a military invasion. Ajaw’s practice always relates to her unique upbringing and reflects autobiographical details. She attempts to depict stories from Akha oral history and myths, traditionally, and for centuries told through songs or by village elders.

As a tribute to womanhood, Ajaw's work at the Bangkok Art Biennale 2024 tells a powerful narrative drawn from Akha folklore, centering on Amamata, the revered first mother and goddess-like figure embodying fertility, childbirth, and the protection of women. Through this narrative, Ajaw explores the themes of motherhood, ancestral connection, and the unwavering strength and resilience of Akha women. She subtly connects the story to the contemporary roles of women within the family, as mothers navigating the complexities of domestic life.

Ajaw lives and works in the border area of Chiang Rai, Thailand. Her recent exhibitions include Mother: Amamata (2023, nca | nichido contemporary art, Tokyo, Japan); Thailand Biennale Chiang Rai (2023); and Singapore Biennale (2020).

บู้ซือ อาจอวาดภาพมาตั้งแต่อายุ 15 โดยเรียนด้วยตัวเอง เนื้อหาในผลงานของเธอมาจากประสบการณ์ความเป็นผู้หญิงในสังคมร่วมสมัย ความเป็นแม่ตลอดจนรากเหง้าความเป็นชาวเขาเผ่าอาข่าของเธอ อาจอเกิดในเขตโซเมียหรือเขตภูมิศาสตร์เขาสูงแห่งเอเชียในประเทศเมียนมา ครอบครัวเธอเป็นคนทรงและช่างฝีมือ เธอและครอบครัวต้องหนีออกจากแผ่นดินเกิดและหมู่บ้านตั้งแต่เธอยังเล็กเนื่องจากการบุกรุกของทหาร การทำงานศิลปะของอาจอเกี่ยวข้องกับการเติบโตที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอและมีรายละเอียดที่มีความเป็นอัตชีวประวัติเสมอ เธอตั้งใจนำเสนอเรื่องราวที่มาจากประวัติศาสตร์และตำนานมุขปาฐะของอาข่าที่เล่าขานสืบต่อกันมาหลายศตวรรษโดยผ่านบทเพลงและผู้อาวุโสในหมู่บ้าน

ผลงานของอาจอซึ่งจัดแสดงที่บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2024 นี้เป็นการเทิดทูนความเป็นผู้หญิง ใช้เรื่องเล่าอันทรงพลังที่มาจากคติชาวบ้านของชาวอาข่า เน้นที่ Amamata แม่คนแรกซึ่งผู้คนยกย่องบูชาและบุคคลสำคัญที่เป็นเหมือนเทพเจ้าแห่งภาวะเจริญพันธุ์ การให้กำเนิดบุตรและการคุ้มครองผู้หญิง โดยผ่านเรื่องเล่านี้อาจอได้สำรวจแก่นความคิดเรื่องความเป็นแม่ สายสัมพันธ์บรรพบุรุษตลอดจนความเข้มแข็งและความสามารถในการฟื้นตัวของผู้หญิงชาวอาข่า เธอเชื่อมโยงเรื่องนี้อย่างแยบยลกับบทบาทของผู้หญิงในครอบครัวสมัยปัจจุบันที่ผู้เป็นแม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากซับซ้อนของชีวิตครอบครัว

อาจอพำนักและทำงานอยู่ใกล้ชายแดนที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ผลงานการจัดแสดงในนิทรรศการในช่วงที่ผ่านมา อาทิ Mother: Amamata (พ.ศ. 2566, เอ็นซีเอ | หอศิลป์ร่วมสมัยนิชิโดะ, โตเกียว, ญี่ปุ่น) ไทยแลนด์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2566, เชียงราย) และสิงคโปร์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2563)