David Shongo & Filip Van Dingenen

Congo
Belgium
1994 / 1974

David Shongo is a Congolese composer and visual artist, whose work explores the interactions between sound and image, focusing on the movements and the poetic impact they can generate together. His works analyze how his personal and collective memory of his country is constructed and also question the notion of absence not as a void but as a political choice of silence. His personal history is marked by the absence of his father, who did not acknowledge him at birth. He grew up in Boma with his mother and sister, where he began playing percussion during family prayers. He pursued university studies in computer science in Lubumbashi, where he also taught himself jazz piano and accompanied renowned local musicians on tour.

In 2018, he met filmmaker Petna Ndaliko, who encouraged him to start a solo career and introduced him to cinema and photography. That same year, he received a scholarship to study photography through a collaboration between the University of Nottingham and Yolé!Africa. David then began integrating music and visuals into his creations. He developed a new piano technique inspired by the linguistic characteristics of several Congolese peoples, influenced by Ray Lema's Rhythmic Wheel concept.

He made his first film in 2019, which was simultaneously exhibited at the Lubumbashi Biennale and the Rietberg Museum. His second film was selected for the Locarno Film Festival in 2020, the same year he also received a three-year research fellowship from the Swiss National Science Foundation. In 2021, he created the Kinshasa Pianos Festival, the first event of its kind dedicated to the piano in Sub-Saharan Africa.

Between 2020 and 2023, David Shongo presented various exhibitions and performances worldwide. In 2022, he participated in a group exhibition at the House of World Cultures HKV in Berlin, where French filmmaker Jean-Luc Godard also participated six months before his death. His latest film, Lumene, was selected for the Dok Leipzig festival. In 2023, his work gained increased international recognition with his participation in the Venice Music Biennale and Ars Electronica in Austria.

--

Filip Van Dingenen is a multidisciplinary artist and co-founder of the Ecole Mondiale in Brussels. In his process-oriented approach he uses a wide range of methods and outputs, which merge participatory strategies and social and environmental relevance, within the themes of recreation, heritage and education. His oeuvre stands alongside the specific object-oriented making of art. He is a researcher who tries to fathom the course of events in the complex world through a roundabout way. In fact, he can be seen as an anthropologist-artist who tries to map the world a little more insightfully through story and research. Filip Van Dingenen starts from socially striking fait-divers and extrapolates those items into broader thoughts, whereby all information sought and “experienced” also becomes an inherent and visible part of the project.

Filip van Dingenen was a researcher at LUCA School of Arts in Ghent/Brussels and an affiliated researcher at the Laboratory of Education and Society at KU Leuven. He was also a researcher at the Jan Van Eyck Academy (2013), associate artist in residence with Mark Dion at ACA (2008), and developed projects in Artist Residency Programs at Irish Museum of Modern Art (2008), Wiels Art Center (2009) Banff Arts Center (2013), Center for Contemporary Art Ujazdowski Castle (2015) and worked in Ireland, Argentina, and Equatorial Guinea. He has written numerous articles for journals and magazines and has authored several artist books. His works and performances were presented at 4th Istanbul Design Biennial (2018), Biennale de Casablanca (2018), LIAF, Norway (2017), Royal Museum for Central Africa, Tervuren (2013), Museu da República, Rio de Janeiro (2009), Centro Cultural Español en Bata (2008), Santa Monica Art Center, Barcelona (2006), 7hours Haus19 - Humboldt University & Museum for Natural History Berlin (2005).

เดวิด ชองโก เป็นนักแต่งเพลงและศิลปินทัศนศิลป์ชาวคองโก ซึ่งผลงานของเขาสํารวจถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเสียงและภาพ โดยโฟกัสไปที่การเคลื่อนไหว และผลที่ตามมาเมื่อสิ่งเหล่านั้นผสมผสานกัน ผลงานของเขาวิเคราะห์ถึงความทรงจำร่วม (collective memory) ของประเทศคองโกว่าถูกสร้างขึ้นอย่างไร และตั้งคําถามถึงแนวคิดเรื่องการสูญหายที่ไม่ใช่ความว่างเปล่า แต่เป็นทางเลือกทางการเมืองที่ไร้สุ้มเสียง ประวัติส่วนตัวของชองโกเองก็มีความสูญหายที่พ่อของเขาไม่แสดงตัวในวันที่เขาเกิด เขาเติบโตขึ้นมาในเมืองโบมาพร้อมกับแม่และน้องสาวของเขา ซึ่งเขาเริ่มเล่นเครื่องเพอร์คัชชันในระหว่างที่ครอบครัวทำพิธีสวดมนต์ เขาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในเมืองลูบุมบาชี ซึ่งเป็นที่ที่เขาสอนตัวเองเล่นเปียโนแจ๊ส และร่วมเดินสายทัวร์กับนักดนตรีที่เป็นที่รู้จักในท้องถิ่น

ในปี 2561 เขาได้พบกับผู้สร้างภาพยนตร์ เพทน่า นาลิโก ผู้ซึ่งสนับสนุนให้เขาเริ่มต้นทำอาชีพของเขาเอง และแนะนําให้เขารู้จักกับวงการภาพยนตร์และการถ่ายภาพ ในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาการถ่ายภาพผ่านความร่วมมือของทางมหาวิทยาลัย Nottingham และ Yolé!Africa จากนั้นเดวิดก็เริ่มผสมผสานดนตรีและภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ เขาพัฒนาเทคนิคเปียโนแบบใหม่ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลักษณะทางภาษาของชาวคองโกทั้งหลาย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากคอนเซ็ปต์ Rhythmic Wheel ของเรย์ เลมา

เขาได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาในปี 2562 ถูกแสดงที่ลุบุมบาชีเบียนนาเล่ และพิพิธภัณฑ์ไรเอ็ตเบิร์ก ภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของเขาได้ถูกคัดเลือกสําหรับเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนในปี 2563 และในปีเดียวกันนั้น เขายังได้รับทุนวิจัยสามปีจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสวิส ในปี 2564 เขาได้ก่อตั้งเทศกาลเปียโนคินชาซาขึ้นมา ซึ่งเป็นเทศกาลแรกในแอฟริกาใต้ซาฮาร่าที่อุทิศให้กับเปียโนโดยเฉพาะ

ระหว่างปี 2563 ถึง 2566 เดวิด ชองโก ได้จัดนิทรรศการและการแสดงต่าง ๆ ทั่วโลก ในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมในนิทรรศการกลุ่มที่ House of World Cultures HKV ในเบอร์ลิน ซึ่งฌ็อง ลุก กอดาร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ก็ได้ร่วมแสดงด้วยหกเดือนก่อนที่จะเสียชีวิต ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของชองโกเรื่อง Lumene ได้รับเลือกให้ฉายที่เทศกาล Dok Leipzig ในปี 2566 และผลงานของเขาได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นในระดับนานาชาติจากการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีนานาชาติ เวนิสมิวสิคเบียนนาเล่ และ Ars Electronica ในออสเตรีย

---

ฟิลิป ฟาน ดิงเงอเนน เป็นศิลปินสหศาสตร์และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบัน Ecole Mondiale ในกรุงบรัสเซลส์ ในกระบวนการของเขาได้มีการมุ่งเน้นวิธีการและการสร้างผลลัพธ์ที่หลากหลาย ได้มีการรวมวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมและความเกี่ยวข้องทางสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ภายในธีมของการนำมาสร้างสรรค์ใหม่ ประเพณี และการส่งต่อภูมิปัญญา ผลงานของเขาจะเกี่ยวกับการสร้างงานศิลปะเชิงวัตถุโดยเฉพาะ อีกทั้งเขายังเป็นนักวิจัยที่พยายามจะเข้าใจถึงเส้นเรื่องของเหตุการณ์ในโลกที่ซับซ้อนแบบอ้อม ๆ อันที่จริง เขาสามารถถูกมองว่าเป็นศิลปินนักมานุษยวิทยา ที่พยายามเข้าใจโลกให้ลึกซึ้งขึ้นโดยผ่านเรื่องราวและการวิจัย ฟิลิป ฟาน ดิงเงอเนน เริ่มต้นจากการเป็นนักรายงานข่าวในสังคมทั่วไปและได้นำสิ่งเหล่านั้นมาลงเชิงลึกมากขึ้น โดยข้อมูลทั้งหมดที่เขาได้ค้นหามาและได้มาจาก "ประสบการณ์" ก็จะกลายเป็นส่วนที่ทั้งชัดเจนและปรากฏอยู่กับผลงานของเขา

ฟิลิป ฟาน ดิงเงอเนน เป็นนักวิจัยที่ LUCA School of Arts ใน เกนต์/บรัสเซลส์ และเป็นนักวิจัยในเครือของ Laboratory of Education and Society ที่ KU Leuven เขายังเป็นนักวิจัยที่ สถาบันศิลปะ ยัน ฟัน ไอก์ (2556) เป็นศิลปินสมทบกับ มาร์ก ดิออน ที่ ACA (2551) และได้ร่วมพัฒนาโครงการใน Artist Residency Programs ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ไอริช (2551), ศูนย์ศิลปะวีลส์ (2552) ศูนย์ศิลปะบานฟ์ (2556), Center for Contemporary Art Ujazdowski Castle (2558) และทํางานในไอร์แลนด์ อาร์เจนตินา และอิเควทอเรียลกินี เขาได้เขียนบทความมากมายสําหรับวารสารและนิตยสาร และได้ประพันธ์หนังสือให้ศิลปินหลายเล่ม ผลงานและการแสดงของเขาถูกจัดแสดงที่ อิสตันบูลดีไซน์เบียนนาเล่ ครั้งที่ 4 (2561), คาซาบลังกา เบียนนาเล่ (2561), LIAF, นอร์เวย์ (2560), พิพิธภัณฑ์แอฟริกา, ทอร์วูเรน (2556), พิพิธภัณฑ์แห่งสาธารณรัฐ, รีโอเดจาเนโร (2552), ศูนย์วัฒนธรรมสเปนในบาตา (2551), ศูนย์ศิลปะซานตาโมนิกา, บาร์เซโลนา (2559), 7hours Haus19 - มหาวิทยาลัยฮัมโบลต์ & พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เบอร์ลิน (2548)

On Display at BAB2024