Deneth Piumakshi

Veda Arachchige

Sri Lanka
France
1980

Multidisciplinary works of Veda Arachchige employ voices, videos, photography, sculpture, painting on textiles and embroidery on different surfaces, including the palms of the volunteers. Her works carry past and present through hidden layers becoming visible through Deneth’s act of stitching, drawing, standing still, inquiring, bring light on the forgotten colonial entanglement of European countries in Ceylon during the 19th century, on the Sri Lankan diaspora in Europe, on untold stories of brown women who are domestic workers in the Middle East and women and children in the war zones, or on impossible restitution of the Sri Lankan cultural heritage by diverse European museums. Her artistic practice runs along a thin line which separates art and activism; it is her intent to play with that tension. Textile is a prime medium in her work. Deneth perceive clothes can transform fragile lives and strong woven threads can keep them together as long as they can resist natural and human violation. But there is also a limit to the lifespan of the textile as it breaks and tears over time. For 24 years she has been working with ‘Cheetha’, a traditional Sri Lankan printed cotton textile that is worn by women in all ethnic groups. It can be seen only in a few villages or among the older generation because of the phenomenon of western fashion trends and mass made clothes from China. Highlights of her exhibitions are ‘Restitution as self-portrait’, 12th Berlin Biennale, Germany (2022), ‘Second skin’, AsiaNow Artfair, Paris, France (2023).

ผลงานศิลปะสหสาขาของเวดา อารัคชิเกใช้ทั้งเสียง วีดิทัศน์ ภาพถ่าย ประติมากรรม จิตรกรรมบนสิ่งทอและ งานเย็บปักถักร้อยบนพื้นผิวต่าง ๆ รวมถึงฝ่ามือของอาสาสมัครด้วยผลงานของเธอนำพาอดีตและปัจจุบันผ่านชั้นต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ซึ่งปรากฏให้เห็นด้วยการเย็บ การวาด การยืนเฉย ๆ และการซักถามของเดเน็ธ นำเสนอความสับสนอลหม่านทางอาณานิคมของประเทศยุโรปที่เกาะซีลอนในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งถูกลืมไป เรื่องการพลัดถิ่นของชาวศรีลังกาในทวีปยุรป เรื่องที่ยังไม่มีใครเล่าของผู้หญิงผิวสีน้ำตาลที่ทำงานเป็นแม่บ้านในภูมิภาคตะวันออกกลาง ผู้หญิงและเด็กในพื้นที่สงคราม รวมทั้งการชดใช้คืนมรดกทางวัฒนธรรมของศรีลังกาโดยพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในทวีปยุโรปที่เป็นไปไม่ได้ การทำงานศิลปะของเธออยู่บนเส้นแบ่งบาง ๆ ระหว่างศิลปะกับกิจกรรมรณรงค์เรียกร้อง เป็นความตั้งใจของเธอที่จะเล่นกับความตึงเครียดนั้น สิ่งทอเป็นสื่อหลักในการทำงานศิลปะของเธอ เดเน็ธเชื่อว่าเสื้อผ้าสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตที่เปราะบางได้และเส้นด้ายที่ทอเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนาสามารถรวมตัวกันอยู่ได้ตราบเท่าที่สามารถต้านทานธรรมชาติและการประทุษร้ายของมนุษย์ แต่อายุการใช้งานสิ่งทอก็มีขีดจำกัดเนื่องจากจะฉีกขาดไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป ตลอด 24 ปีที่ผ่านมาเดเน็ธทำงานกับ “ชีธา” ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายแบบดั้งเดิมของศรีลังกาที่ผู้หญิงทุกกลุ่มชาติพันธุ์ใช้สวมใส่ปัจจุบันเห็นได้เฉพาะในหมู่บ้านไม่กี่แห่งหรือในหมู่ผู้สูงอายุเนื่องจากปรากฏการณ์แนวโน้มแฟชั่นตะวันตกและเสื้อผ้าที่ผลิตครั้งละมาก ๆ จากประเทศจีน การจัดแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญ ๆ ของเธอได้แก่ Self-portrait as Restitution (เบอร์ลินเบียนนาเล่ครั้งที่ 12, เยอรมนี, พ.ศ. 2565) และ Second Skin (ตลาดนัดงานศิลปะเอเชียนาว, ปารีส, ฝรั่งเศส, พ.ศ. 2566)

On Display at BAB2024
No items found.