Artwork Details
Mix media on Sri Lankan cheetha textile
Displayed at
National Gallery of Thailand

Six artworks by Deneth Piumakshi Veda Aracchige portray motherhood, colonialism, discrimination and cultural dominance on traditional Sri Lankan cheetha textile.
Resistance pays respect to the struggle of working women in rural villages. It features a colonial archival image and tells a story of the women with their powerful resistant gaze. This large textile piece employs blue, as it represents ‘healing’ in Buddhism and Hinduism. Once Upon a Time II reminds us of the time when countries fought for vaccinations as if they were vultures waiting to get the best piece of meat. Mother of All portrays a mother who prays for the protection of her family and community amidst the growing discrimination against Muslim communities. La nuit bleue, Je vais reste ici dans la mon rêve talks about the pain of giving birth and the trauma of death; and how a mother embraces whatever it brings to her body—whether joy or sorrow. Woman Power is the artist’s version of the Hindu goddess Kali. As women today, we need to integrate the power of Goddess Kali: the fire energy and the guiding, leading, and offering help reflected in the hand gestures. Domination represents the artist’s experience as an immigrant mother and the cultural domination she experiences on her child. She wonders how one saves the identity of a non-dominant culture and preserve its value, and whether cultural domination is, in fact, a form of modern colonization.

Deneth Piumakshi Veda Aracchige creates multidisciplinary works which engage voices, videos, photography, sculpture, painting on traditional textiles as well as embroidery on different surfaces. She has exhibited worldwide including at the 12th Berlin Biennale (2022), Theater Basel (2020) and Kolonial at the Landesmuseum in Zurich (2024).

ผลงานศิลปะหกชิ้นของเดเน็ธ พิวมัคชิ เวดา อารัคชิเกแสดงความเป็นแม่ ลัทธิล่าอาณานิคม การเลือกปฏิบัติและการครอบงำทางวัฒนธรรมบน ชีธา ผ้าแบบดั้งเดิมของศรีลังกา งาน Resistance ยกย่องความยากลำบากของผู้หญิงที่ทำงานในหมู่บ้านชนบท ภาพถ่ายจากสมัยอาณานิคมที่อยู่ในคลังสะสมบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่มีแววตาต่อต้านอย่างทรงพลัง งานผ้าชิ้นนี้ใช้สีน้ำเงินเป็นหลักเนื่องจากเป็นสีของ ‘การเยียวยา’ ในศาสนาพุทธและฮินดู งาน Once Upon a Time II ชวนให้เรานึกถึงช่วงเวลาที่ประเทศต่าง ๆ แย่งวัคซีนกันเหมือนเป็นฝูงแร้งรอทึ้งเนื้อชิ้นที่อร่อยที่สุด งาน Mother of All แสดงภาพแม่ที่สวดภาวนาขอความคุ้มครองให้ครอบครัวและชุมชนของเธอระหว่างที่มีการเลือกปฏิบัติต่อชุมชนมุสลิมมากขึ้นทุกขณะ งาน La nuit bleue, Je vais reste ici dans la mon rêve กล่าวถึงความเจ็บปวดในการคลอดบุตรและปมในใจเรื่องความตายรวมทั้งการที่คนเป็นแม่จะยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่การคลอดบุตรจะนำมาสู่ร่างกายเธอไม่ว่าจะเป็นความสุขหรือความเศร้าก็ตาม งาน Woman Power เป็นภาพพระแม่กาลีตามความคิดของศิลปิน ผู้หญิงเราทุกวันนี้ต้องนำพลานุภาพพระแม่กาลีมาใช้ พลังแห่งไฟ การให้คำแนะนำ การนำทางและการเสนอความช่วยเหลือปรากฏในการวางท่าของมือ งาน Domination เล่าประสบการณ์ของศิลปินที่เป็นแม่ผู้ต้องย้ายถิ่นฐานมาและการครอบงำทางวัฒนธรรมที่ลูกเธอประสบ เธอตั้งคำถามว่าจะรักษาอัตลักษณ์และอนุรักษ์คุณค่าของวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าได้อย่างไร ที่แท้แล้วการครอบงำทางวัฒนธรรมเป็นการล่าอาณานิคมสมัยใหม่รูปแบบหนึ่งใช่หรือไม่

เดเน็ธ พิวมัคชิ เวดา อารัคชิเกสร้างผลงานศิลปะสหสาขาโดยใช้ทั้งเสียง วีดิทัศน์ ภาพถ่าย ประติมากรรม จิตรกรรมบนสิ่งทอและ งานเย็บปักถักร้อยบนพื้นผิวต่าง ๆ เธอจัดแสดงงานตามทั่วโลก เช่น เบอร์ลินเบียนนาเล่ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) และเธอาเทอร์บาเซิล (พ.ศ. 2563) เป็นต้น