Maria

Madeira

Tim­or-Leste
Australia
1966

Maria Madeira is one of Timor-Leste’s most sig­nif­i­cant con­tem­po­rary visu­al artists with an inter­na­tion­al­ly regard­ed prac­tice deeply embed­ded in Tim­or-Leste tra­di­tions, con­cerns and his­to­ries. She is based in Timor-Leste’s cap­i­tal, Dili and Perth, Aus­tralia, where she migrat­ed with her fam­i­ly in 1983 fol­low­ing sev­en years in a refugee camp in Por­tu­gal. A promi­nent fig­ure in Timor-Leste’s recov­ery since it achieved inde­pen­dence twen­ty-five years ago, Madeira has recent­ly been artist-in-res­i­dence at Dili’s Fun­dação Oriente.

Madeira was born in the vil­lage of Gleno in the Ermera region of Tim­or-Leste. The Indone­sian régime invad­ed in 1975 , and her fam­i­ly was evac­u­at­ed to Por­tu­gal the fol­low­ing year. She spent most of the fol­low­ing sev­en years in a refugee camp run by the Red Cross on the out­skirts of Lis­bon and migrat­ed with her fam­i­ly to Aus­tralia in 1983.

Over the years, she obtained sev­er­al aca­d­e­m­ic qual­i­fi­ca­tions. She grad­u­at­ed with a B.A. Fine Arts (Visu­al Arts) Degree from Curtin Uni­ver­si­ty, Perth in 1991. Two years lat­er she received a Grad­u­ate Diplo­ma of Edu­ca­tion (Major in Art) from the same uni­ver­si­ty. In 1996, she obtained her sec­ond degree, a B.A. in Polit­i­cal Sci­ence from Mur­doch Uni­ver­si­ty. In 2019, she com­plet­ed a Doctorate of Phi­los­o­phy in Art from Curtin University.

Between 1996 and 2000, she worked in West­ern Aus­tralia as a high school art teacher, visu­al artist and cul­tur­al advi­sor for sev­er­al arts and cul­tur­al organ­i­sa­tions. Between 2000-2004,  she returned to Tim­or-Leste to con­tribute to the recov­ery, rebuild­ing and rede­vel­op­ment of Tim­or-Leste, the newest nation in Asia.

Select­ed solo exhi­bi­tions include Flow­ery Talk, Fun­dação Ori­ente, Dili, Tim­or-Leste, 2023-24; Mana Maria, Chi­ang Mai Uni­ver­si­ty, Thai­land 2022; A Place in the Sun, Fun­dação Ori­ente, Dili, Tim­or-Leste, 2022 ; Tim­or-Leste: An Artis­tic Per­spec­tive, Uni­ver­si­ty of Col­orado, 2019; Ina Lou (Dear Moth­er Earth), Galeri Cip­ta II, Jakar­ta, 2014 ; Famil­iar Steps, Fes­ti­val da Luso­fo­nia, Macau, 2011 and Silent Voic­es, Can­nery Arts Cen­tre, Esper­ance, West­ern Aus­tralia, 2007.

Select­ed group exhi­bi­tions include Bien­nale Jog­ja XVI Equa­tor #6, Yogyakar­ta Nation­al Muse­um, Indone­sia, 2021; ART­FEM: Women artists 2nd Inter­na­tion­al Bien­ni­al of Macau, Natu­ra Alber­gue SCM, Macau, 2020; Elas­tic (Bor­racha) Mobile Res­i­den­cy, Chan Con­tem­po­rary Art Space, North­ern Cen­tre for Con­tem­po­rary Art and Cross Art Projects, Dar­win Aus­tralia, 2014; Arte Luso­fona Con­tem­po­ranea, Gale­ria Mar­ta Tra­ba, São Paulo, Brazil, 2011 and Pic­tur­ing the Sea, Lawrence Wil­son Art Gallery, Uni­ver­si­ty of West­ern Aus­tralia, 2006.

มาเรีย มาเดราเป็นหนึ่งในศิลปินติมอร์-เลสเตที่ทำงานด้านทัศนศิลป์ที่สำคัญที่สุด ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมีรากฐานมาจากขนบประเพณี ปัญหาและประวัติศาสตร์ของประเทศติมอร์-เลสเต มาเดราพำนักและทำงานอยู่ที่กรุงดิลี เมืองหลวงของประเทศติมอร์-เลสเตและนครเพิร์ท ประเทศออสเตรเลียที่เธอย้ายถิ่นฐานไปกับครอบครัวเมื่อปี พ.ศ. 2526 หลังจากที่อยู่ในค่ายผู้อพยพที่ประเทศโปรตุเกสนานเจ็ดปี มาเดราเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในการฟื้นฟูประเทศติมอร์-เลสเตหลังได้รับอิสรภาพเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ในช่วงที่ผ่านมานี้เธอเป็นศิลปินในพำนักที่ศูนย์วัฒนธรรมฟุนดาเซาโอริออนท์ กรุงดิลี

มาเดราเกิดที่หมู่บ้านเกลอโนในเขตเอร์เมราของประเทศติมอร์-เลสเต รัฐบาลทหารอินโดนีเซียเข้ารุกรานเมื่อปี พ.ศ. 2518 และครอบครัวของเธอก็ต้องย้ายถิ่นฐานไปประเทศโปรตุเกสในปีต่อมา เธอใช้เวลาเจ็ดปีต่อมาเกือบทั้งหมดในค่ายผู้อพยพของกาชาดชานกรุงลิสบอนและย้ายถิ่นฐานพร้อมครอบครัวมายังประเทศออสเตรเลียเมื่อปี พ.ศ. 2526

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเธอได้วุฒิการศึกษาหลายวุฒิ เธอได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต(สาขาทัศนศิลป์) จากมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน นครเพิร์ทเมื่อปี พ.ศ. 2534 สองปีต่อมาได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาครุศาสตร์ (วิชาเอกศิลปะ) จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2539 จบปริญญาตรีใบที่สอง  รัฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อคและเมื่อปี พ.ศ.2562 เธอสำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน

ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2543 มาเดราทำงานในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียนมัธยมปลาย ศิลปินด้านทัศนศิลป์และที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมให้องค์กรศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 เธอกลับไปยังประเทศติมอร์-เลสเตเพื่อร่วมฟื้นฟู บูรณะและพัฒนาติมอร์-เลสเต ประเทศใหม่ที่สุดในทวีปเอเชีย

นิทรรศการเดี่ยวคัดสรรได้แก่ Flow­ery Talk (ฟุนดาเซาโอริออนท์, ดิลี, ติมอร์-เลสเต, พ.ศ. 2566-2567) Mana Maria (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ. 2022) A Place in the Sun (ฟุนดาเซาโอริออนท์, ดิลี, ติมอร์-เลสเต, พ.ศ. 2565) Timor-Leste: An Artis­tic Per­spec­tive (มหาวิทยาลัยโคโลราโด, พ.ศ. 2019) Ina Lou (Dear Moth­er Earth) (หอศิลป์ชิปตา II,จาการ์ตา, พ.ศ. 2557); Famil­iar Steps (เทศกาลลูโซโฟเนีย, มาเก๊า, พ.ศ. 2554) และ Silent Voic­es (ศูนย์ศิลปะแคนเนอรี, เอสเพอรันส์, เวสเทิร์นออสเตรเลีย, พ.ศ. 2550)

นิทรรศการกลุ่มคัดสรรได้แก่ ยกยกเบียนนาเล่ครั้งที่ 16 “Equa­tor #6” (พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอินโดนีเซียยกยาการ์ตา, พ.ศ. 2564) อาร์ตเฟ็ม: ไบเอนเนียลศิลปินหญิงนานาชาติมาเก๊าครั้งที่ 2 “Natu­ra” (ศูนย์ศิลปะอัลแบร์กดาซานตาคาซามิเซริกอร์เดีย, มาเก๊า, พ.ศ. 2563) Elas­tic (Bor­racha) Mobile Res­i­den­cy, (ชานคอนเท็มโพรารีอาร์ตสเปซ, ศูนย์ศิลปะร่วมสมัยนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีและครอสส์อาร์ตส์โพรเจ็คทส์, ดาร์วิน, ออสเตรเลีย, พ.ศ. 2557) Arte Luso­fona Con­tem­po­ranea (หอศิลป์มาร์ทา ทราบา, เซาเปาโล, บราซิล, พ.ศ. 2554) และ Pic­tur­ing the Sea (หอศิลป์ลอเรนซ์ วิลสัน, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย, พ.ศ. 2549)

On Display at BAB2024
No items found.