Buras (Blossom)

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Mixed media on canvas: tais
Displayed at

Maria Madeira’s practice is deeply embed­ded in Tim­or-Leste tra­di­tions, traumas and his­to­ries. She was born in the vil­lage of Gleno in the Ermera region of Tim­or-Leste. The Indone­sian régime invad­ed in 1975, and her fam­i­ly was evac­u­at­ed to Por­tu­gal the fol­low­ing year. She spent most of the fol­low­ing sev­en years in a refugee camp run by the Red Cross on the out­skirts of Lis­bon and migrat­ed with her fam­i­ly to Aus­tralia in 1983, where she obtained sev­er­al aca­d­e­m­ic qual­i­fi­ca­tions.

Madeira's art is a powerful blend of tradition and personal expression. She primarily uses local materials such as the Tais cloth, woven and worn by Timorese women, and natural elements: red earth, mud, rock powder, and betel nut. Her work incorporates ritual and performance and is a testament to the collective memory of her ancestors, and her own experiences of displacement.

In Kiss and Don't Tell, Madeira physically interacted with the work, kissing the walls, spitting betelnut juice, and singing traditional songs in indigenous Tetun language. One such song, "Ina Lou" (Dear Mother Earth), is a spiritual lament known across generations. Madeira's singing is an invocation, an attempt to connect with and remember Mother Earth. Her practice is considered a form of cultural activism that pays homage to the women of Timor-Leste and addresses the suffering of women globally.

การทำงานศิลปะของมาเรีย มาเดรามีรากฐานมาจากขนบประเพณี บาดแผลที่ฝังในใจและประวัติศาสตร์ของประเทศติมอร์-เลสเต มาเดราเกิดที่หมู่บ้านเกลอโนในเขตเอร์เมราของประเทศติมอร์-เลสเต รัฐบาลทหารอินโดนีเซียเข้ารุกรานเมื่อปี พ.ศ. 2518 และครอบครัวของเธอก็ต้องอพยพไปประเทศโปรตุเกสในปีต่อมา เธอใช้เวลาเจ็ดปีต่อมาเกือบทั้งหมดในค่ายผู้อพยพของกาชาดชานกรุงลิสบอน เมื่อปี พ.ศ. 2526 เธอย้ายถิ่นฐานพร้อมครอบครัวมายังประเทศออสเตรเลีย ที่นั่นเธอได้เรียนจนจบหลายวุฒิการศึกษา

งานศิลปะของมาเดราเป็นการผสมผสานอันทรงพลังของขนบประเพณีและการแสดงออกของเธอ หลัก ๆ แล้วเธอใช้วัสดุท้องถิ่น อาทิ ผ้า ตาอิส ที่ผู้หญิงติมอร์ทอและสวมใส่รวมทั้งองค์ประกอบทางธรรมชาติ ได้แก่ ดินลูกรัง โคลน ผงหินและหมาก ผลงานของเธอใช้พิธีกรรมและการแสดง เป็นข้อพิสูจน์ความทรงจำร่วมกันถึงบรรพบุรุษและประสบการณ์ที่เธอต้องย้ายถิ่นฐาน

ในงาน Kiss and Don't Tell มาเดรามีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพกับงานทั้งจูบผนัง บ้วนน้ำหมากและร้องเพลงดั้งเดิมในภาษาชนพื้นเมือง เตตุน เพลงหนึ่งก็คือ "Ina Lou" (โอ้ พระแม่ธรณี) เป็นการคร่ำครวญทางจิตวิญญาณที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน การร้องเพลงของมาเดราเป็นการเรียกวิญญาณ ความพยายามเชื่อมต่อกับและระลึกถึงแม่พระธรณี การทำงานของเธอจัดว่าเป็นกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงความเคารพผู้หญิงชาว ติมอร์-เลสเตและกล่าวถึงความทุกข์ยากของผู้หญิงทั่วโลก

นิทรรศการคัดสรรได้แก่ Kiss and Don’t Tell (เวนิสเบียนนาเล่ครั้งที่ 60, พาวิลเลียนของประเทศติมอร์-เลสเต, พ.ศ. 2567) Flow­ery Talk (ฟุนดาเซาโอริออนท์, ดิลี, ติมอร์-เลสเต, พ.ศ. 2566-2567) ยกยาเบียนนาเล่ (พ.ศ. 2564) อาร์ตเฟ็ม: ไบเอนเนียลศิลปินหญิงนานาชาติมาเก๊าครั้งที่ 2 และอื่น ๆ