Mella Jaarsma was born in the Netherlands in 1960 and studied visual art at Minerva Academy in Groningen (1978-1984), after which she left the Netherlands to study at the Art Institute of Jakarta (1984) and at the Indonesian Institute of the Arts in Yogyakarta (1985-1986). She has lived and worked in Indonesia ever since. In 1988, she co-founded Cemeti Art House, now called Cemeti Institute for Art & Society with Nindityo Adipurnomo, one of the first spaces for contemporary art in Indonesia. She also initiated in 1995 with a group of friends the Cemeti Art Foundation, now called the Indonesian Visual Art Archive in Yogyakarta.
Mella Jaarsma has become known for her complex costume installations and her focus on forms of cultural and racial diversity embedded within clothing, the body and food. Mella Jaarsma’s works have been presented widely in exhibitions and art events in Indonesia and abroad, including: ‘Videobrasil’ - San Paolo - Brazil, ‘Biennale Jogja XVI Equator #6’, Jogja National Museum (2021); ‘Dunia Dalam Berita’, Macan Museum, Jakarta (2019); ‘The Setouchi Triennale’, Ibuki Island, Japan (2019), the Thailand Biennale - Krabi (2018); the 20th Sydney Biennale (2016); ‘The Roving Eye’, Arter, Istanbul (2014); ‘Siasat’ – Jakarta Biennale, Museum of Ceramics and Fine Arts, Jakarta (2013); ‘Suspended Histories’, Museum Van Loon, Amsterdam (2013); ‘Singapore Biennale’, Singapore Art Museum (2011); ‘GSK Contemporary – Aware: Art Fashion Identity’, the Royal Academy of Arts, London(2010); ‘RE-Addressing Identities’, Katonah Museum, New York (2009); ‘Accidentally Fashion’, Museum of Contemporary Art, Taipei (2007); Yokohama Triennial (2005), and many others. Her work is part of the collection of the National Gallery – Jakarta, Tumurun Museum – Solo,Queensland Art Gallery- Museum of Modern Art - Brisbane, The National Gallery of Australia - Canberra and the Singapore Art Museum and the National Gallery Singapore, amongst others.
เมลล่า จาร์สมาเกิดที่ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2503 ศึกษาด้านทัศนศิลป์ที่สถาบันศิลปะมิเนียร์วา เมืองโกรนิงเงิน (พ.ศ. 2521-2527) หลังจากนั้นก็จากประเทศเนเธอร์แลนด์มาศึกษาที่สถาบันศิลปะแห่งกรุง จาการ์ตา (พ.ศ. 2527) และที่สถาบันศิลปะอินโดนีเซีย เมืองยกยาการ์ตา (พ.ศ. 2528-2529) ตั้งแต่นั้น จาร์สมาก็พำนักและทำงานอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2531 เธอร่วมกับนินดิตโย อดิปูรโนโมก่อตั้ง เซเมติอาร์ตเฮาส์ซึ่งปัจจุบันคือสถาบันศิลปะและสังคมเซเมติ หนึ่งในพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยแห่ง แรก ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 เธอยังได้ร่วมกับเพื่อน ๆ ก่อตั้งมูลนิธิศิลปะเซเมติซึ่งปัจจุบันคือหอเก็บผลงานทัศนศิลป์อินโดนีเซียที่เมืองยกยาการ์ตา
เมลล่า จาร์สมา มีชื่อเสียงจากผลงานศิลปะเครื่องแต่งกายจัดวาง ที่มีความสลับซับซ้อนรวมทั้งการที่เธอแฝงรายละเอียดความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติไว้ในเครื่องแต่งกาย ร่างกายและอาหาร ผลงานของเมลล่า จาร์ส มาจัดแสดงอย่างแพร่หลายตามนิทรรศการ และกิจกรรมด้านศิลปะในประเทศอินโดนีเซียและต่างประเทศ อาทิ “Videobrasil” (เซาเปาโล, บราซิล) ยกยาเบียนนาเล่ครั้งที่ 16 “Equator #6” (พิพิธภัณฑ์แห่งชาติยกยา, พ.ศ. 2563) นิทรรศการ Dunia Dalam Berita (พิพิธภัณฑ์มาคัน, จาการ์ตา พ.ศ. 2562) เซโตะอุจิเทรียนนาเล่ (เกาะอิบุคิ, ญี่ปุ่น พ.ศ. 2562) ไทยแลนด์เบียนนาเล่ (กระบี่, พ.ศ. 2561) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ครั้งที่ 20 (พ.ศ. 2559) นิทรรศการ The Roving Eye (พิพิธภัณฑ์อาร์เทอร์, อิสตันบูล, พ.ศ. 2557) “Siasat” จาการ์ตาเบียนนาเล่ (พิพิธภัณฑ์ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาและวิจิตรศิลป์, จาการ์ตา, พ.ศ. 2556) นิทรรศการ Suspended Histories (พิพิธภัณฑ์ฟันโลน, อัมสเตอร์ดัม, พ.ศ. 2556) สิงคโปร์เบียนนาเล่ (พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์, พ.ศ. 2554)นิทรรศการ GSK Contemporary–Aware: Art Fashion Identity (รอยัลอคาเดมีออฟอาร์ตส์, ลอนดอน, พ.ศ. 2553) นิทรรศการ RE-Addressing Identities (พิพิธภัณฑ์ คาโทนาห์, นิวยอร์ค, พ.ศ. 2552) นิทรรศการ Accidentally Fashion (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย, ไทเป, พ.ศ. 2550) โยโกฮามะไทรเอนเนียล (พ.ศ. 2548) และอื่น ๆ อีกมาก ผลงานของจาร์สมาอยู่ในคลังสะสมผลงานของหอศิลป์แห่งชาติ (จาการ์ตา) พิพิธภัณฑ์ทูมูรัน (โซโล) หอศิลป์รัฐควีนสแลนด์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (บริสเบน) หอศิลป์แห่งชาติออสเตรเลีย(แคนเบอร์รา) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์และหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ เป็นต้น