A Conversation With a Potter

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Installation of pots made with local clay from Bangkok, hand-built, pit-fired, unfired and 3D printed
Displayed at
One Bangkok

Pim Sudhikam is a prominent contemporary ceramic artist. She received a bachelor degree from the Department of Industrial Design, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University and a master of Fine Arts degree, School of Design and Crafts, Gothenburg University, Sweden. Engaged with the properties of “clay”, the main raw material for creating ceramic works, she often tries to overcome technical challenges and material disadvantages to discover modern ideas and forms for ceramic art. A Conversation with a Potter originates from her background of growing up and living in the heart of the rapidly changing metropolitan. She observes the construction of large-scale projects that dig down the ground deep to the clay layer. The characteristics of the clay are the same as that used for pottery since prehistoric times, millions of years ago before the foundation of the city. They are connected as a single piece of soil from the same tectonic plate as the Ban Kao cultural site in the western part of Thailand.

She uses clay from underground excavation for construction projects in historical areas of Bangkok and various subway projects as raw materials to make vessels with hand building methods that are subject to the limitations of tools and techniques, just like a potter in other time. The vessels that look similar to prehistoric pottery and the ones that have shapes reflecting their current use become a medium for exchanging conversations between potters from two periods of time. Both connect memories of the land with the same earthen plate through different times and places.

พิม สุทธิคำ จบการศึกษาจากภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และMaster of Fine Arts, School of Design and Crafts จาก Gothenburg University ประเทศสวีเดน พิมเป็นศิลปินเซรามิกร่วมสมัยที่โดดเด่นในวงการเซรามิกสากล ด้วยสนใจความเป็นแก่นแท้ของ “ดิน” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างงาน พิมมักท้าทายตนเองในการก้าวข้ามข้อจำกัดทางเทคนิคและวัสดุสู่วิธีคิดและรูปแบบของเซรามิกร่วมสมัย A Conversation with a Potter เริ่มต้นจากการที่พิมเติบโตและอาศัยในใจกลางเมืองหลวงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองใหญ่ พิมตั้งข้อสังเกตต่อการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ขุดเจาะผืนดินลึกลงไปจากพื้นถนนจนพบดินเหนียวในชั้นดินลึก ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างกันกับดินเหนียวที่มนุษย์นำมาใช้ทำภาชนะดินเผาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดินเหนียวแบบเดียวกันนี้เองที่ก่อตัวขึ้นในกาลเวลาที่ย้อนไปไกลนับล้านปี สู่สภาพก่อนจะกลายมาเป็นเมือง เชื่อมต่อเป็นดินก้อนเดียวกัน จากแผ่นเปลือกโลกเดียวกันกับแหล่งวัฒนธรรมบ้านเก่า ซึ่งอยู่บริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย

พิมนำดินเหนียวที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นดินจากโครงการก่อสร้างในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯและโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินในจุดต่างๆมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำและสร้างภาชนะขึ้นด้วยมือและปลายนิ้วของตนด้วยกระบวนการภายใต้ข้อจำกัดของเครื่องมือและเทคนิคเช่นเดียวกับช่างปั้นหม้อในอีกกาลเวลาหนึ่ง ภาชนะที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันกับภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะที่มีรูปทรงที่สะท้อนการใช้งานในปัจจุบันเหล่านี้เป็นเสมือนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างช่างปั้นหม้อจากสองกาลเวลาที่เชื่อมโยงความทรงจำของผืนดินด้วยดินจากแผ่นเปลือกโลกเดียวกันผ่านเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน