Freude! Freude!

(
2023
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
A living installation; live performance, installation and moving image works
Displayed at
Bangkok Art and Culture Centre

Born in 1971 in Dublin, Coogan is a critically acclaimed artist whose works consist of live performances, videos and photographs. Coogan studied under Marina Abramović at Hochschule für Bildende Künste in Braunschweig. She received her PhD from the University of Ulster and as both of her parents are deaf, Coogan is an expert in Irish sign language. She explored the use of body and sound as essential parts of long durational performance.

In 2023, Coogan collaborated with Dublin Theater of the Deaf and Cork Deaf Community Choir to perform Beethoven’s Ninth Symphony at Crawford Art Gallery, Cork. Coogan’s choice of Ode to Joy was that it was composed when Beethoven had gone completely deaf. As music played, Coogan gracefully conducted for deaf performers who created movements with energy.

For BAB 2024, Coogan performs Ode to Joy in collaboration with Thai adults and youths who have hearing disabilities. They participate as part of the silent choir in the concert led by Coogan at Wat Prayurawongsawat in Thonburi. At BACC, a canopy hung with second-hand clothes as a prop for her stage. Coogan and volunteers perform live for the audience. Preparation for performances is challenging between Coogan and Thai performers. As Thai and Irish sign languages differ, communication through body language becomes essential. The outcome is an extraordinary collaboration and synergy that bypasses language and racial barriers.

อแมนดา คูแกนเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2514 ที่กรุงดับลิน เป็นศิลปินที่ได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมมาก มีผลงานทั้งการแสดงสด วีดิทัศน์และภาพถ่าย คูแกนเรียนกับมารีน่า อบราโมวิชที่วิทยาลัยวิจิตรศิลป์ เมืองเบราน์ชไวค์ เธอจบปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอัลสเตอร์และเนื่องจากทั้งบิดาและมารดาเป็นคนหูหนวกคูแกนจึงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษามือแบบไอริช เธอสำรวจวิธีการใช้ร่างกายและเสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญในศิลปะแสดงสดแบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน

เมื่อปี พ.ศ. 2566 คูแกนร่วมงานกับคณะละครคนหูหนวกกรุงดับลินและคณะนักร้องประสานเสียงเมืองคอร์กจัดแสดงซิมโฟนีหมายเลขเก้าของเบโธเฟนที่หอศิลป์ครอว์เฟิร์ด เมืองคอร์ก การที่คูแกนเลือก Ode to Joy ก็เพราะว่าเบโธเฟนประพันธ์เพลงนี้ตอนที่หูหนวกสนิทแล้ว ขณะที่ดนตรีบรรเลงคูแกนก็เป็นวาทยากรให้ศิลปิน
หูหนวกผู้ที่สร้างการเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่างทรงพลัง

ที่ BAB 2024 คูแกนแสดง Ode to Joy ร่วมกับผู้ใหญ่และเยาวชนชาวไทยที่มีปัญหาด้านการได้ยิน พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะนักร้องประสานเสียงเงียบในคอนเสิร์ตที่คูแกนจัดขึ้นที่วัดประยูรวงศาวาสฯ ฝั่งธนบุรี ส่วนที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เสื้อผ้ามือสองแขวนเรียงรายอยู่เป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก
คูแกนกับพวกอาสาสมัครแสดงสดต่อหน้าผู้ชม การเตรียมการแสดงนี้เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคูแกนและผู้แสดงชาวไทย ภาษามือแบบไทยกับไอริชนั้นแตกต่างกันการสื่อสารด้วยภาษาร่างกายจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ สุดท้ายก็ได้ผลงานความร่วมมือที่มหัศจรรย์ การผสมผสานที่ก้าวข้ามพรมแดนทางภาษาและเชื้อชาติ