WISHULADA creates artwork from waste materials to raise public awareness in waste issues and to inspire them to effectively reuse their materials for maximum benefit in accordance with the circular economy concept. She believes that “Art can change people’s ideas and ways of living” as every creative idea defines how to use all resources in the world. WISHULADA uses creative thinking process along with comprehensive operational planning from the upstream with concern and care for waste reduction to the downstream with waste management for new value, partly mobilizing mechanics for the development of sustainable future.
In The Beauty Myth and Consumption of Plastic Poem of Contemporary Tragedy series, WISHULADA asks us to be concerned of overconsumption. In Plastic Confinement, many monsters are confined by plastic bags of various colors, like a voiceless poem on how the materialistic spirit is overpowering and devouring our society. Some monsters fight against it; others succumb. Their extra organs look distorted and nightmarish, an abnormal consequence of overconsumption. This reflects how our society is plunging into an abyss of unsustainability. In the mayhem, some monsters start to break free from the plastic bags, losing their extra organs. It’s a sign of their awakening, beginning of change and search for a path towards sustainable consumption for the future of our world.
WISHULADA has constantly exhibited her works in art festivals including: Sustainable Map, 2023 (Presented by Joyman Gallery, United Nations ESCAP, Bangkok); Sustainable Map, 2022 (VOLVO Studio, Bangkok); Spirit of Nature, 2023 (Wonderfruit Festival, Pattaya); Overflow, 2023 (Museum Siam, Bangkok); Art Installation, 2024 (BACC Art Trail of Bangkok 242: A Space for Sharing exhibition, Bangkok Art and Culture Centre); Wire Puller, 2022 (Greenpeace Thailand, Bangkok) and Adaptation, 2024 (Noble Play, Bangkok).
วิชชุลดา (WISHULADA) คือ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาขยะ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนได้หมุนเวียนใช้ซ้ำ (Upcycle) วัสดุเหลือใช้รอบตัว อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) บนความเชื่อที่ว่า “ศิลปะสามารถเปลี่ยนแนวคิด และวิถีชีวิตของผู้คน” เพราะทุกความคิดสร้างสรรค์ล้วนเป็นผู้กำหนดการใช้ทรัพยากรทุกสรรพสิ่งบนโลก วิชชุลดานำกระบวนการความคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ ประกอบกับการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ระดับต้นทางการผลิต ที่คำนึงและใส่ใจต่อการลดการสร้างขยะ จนถึงปลายทางในการจัดการเศษวัสดุให้เกิดประโยชน์ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนกลไกการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ในผลงานชุด มายาคติแห่งความงามและการบริโภคบทกวีพลาสติกที่ร้อยเรียงโศกนาฏกรรมแห่งยุคสมัย วิชชุลดาเชื้อเชิญให้ผู้ชมตระหนักถึงผลกระทบของการบริโภคที่เกินพอดี ผ่านผลงาน "พันธนาการพลาสติก" สัตว์ประหลาดจำนวนมากถูกพันธนาการด้วยเศษถุงพลาสติกหลากสีสัน อันเปรียบดั่งบทกวีไร้เสียงที่กล่าวถึงการครอบงำกัดกินสังคมโดยวิญญาณแห่งวัตถุนิยม สัตว์แต่ละตัว บ้างดิ้นรน บ้างยอมจำนน บางตัวมีอวัยวะเกินจำเป็นบิดเบี้ยวราวกับภาพฝันร้าย สะท้อนผลพวงอันวิปริตของการบริโภคที่เกินพอดี มันคือภาพสะท้อนของสังคมที่กำลังจมดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งความไม่ยั่งยืน แต่ในวังวนนั้นสัตว์ประหลาดบางตัวเริ่มมีการแกะถุงพลาสติกออก มีอวัยวะส่วนเกินหลุดหายไป เป็นสัญลักษณ์ของการตื่นรู้ การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง และการแสวงหาหนทางสู่การบริโภคอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตของโลกใบนี้
วิชชุลดาจัดแสดงผลงานตามเทศกาลศิลปะอย่างต่อเนื่อง อาทิ Sustainable Map (2023) at United Nations ESCAP (Presented by Joyman Gallery), Sustainable Map (2022) at VOLVO Studio Bangkok, Spirit of Nature (2023) at Wonderfruit Festival, Overflow (2023) at Museum Siam, Art Installation (2024) BACC Art Trail 'Bangkok 242: A Space for Sharing, Wire Puller (2022) at Greenpeace Thailand, Adaptation (2024) at Noble Play