Isaac Chong Wai’s practice transforms the emotions, tensions, and memories from human interactions into performative materiality and immersive experiences. Treading the line between the individual and the collective, he examines the vulnerability of the body and the inherent violence within social systems and historical traumas, while imagines alternative microcosms of human relationality, and reflects global phenomena.
In Chong's two-channel video installation “The Mothers,” a group of singers embrace and move in a circle, singing mourning songs and lullabies in various languages. Their intertwined bodies manifest collective support, solace and grief through movement and music. The fragmented songs are guided by musician Dagmar Aigner, who has worked with mourners for over a decade. Chong draws inspiration from German artist Käthe Kollwitz’s 1922/23 woodcut of the same title “The Mothers.” The print depicts grieving women huddled together, reflecting sorrow and anxiety. Chong’s video evokes similarly powerful emotions, addressing the interconnected themes of death, birth, and motherhood, and underscoring the enduring impact of shared global trauma.
Chong is the participating artist for the 60th International Art Exhibition of Venice Biennale, ‘Foreigners Everywhere’, curated by Adriano Pedrosa. His works have gained recognition at prominent venues such as the 22nd Biennale of Videobrasil, São Paulo; Hamburger Bahnhof – Nationalgalerie der Gegenwart, Berlin; Bundeskunsthalle Bonn; MMCA, Seoul; IFFR, Rotterdam; MOCA Taipei; and M+, Hong Kong.
การทำงานศิลปะของไอแซก ชอง หว่ายได้เปลี่ยนห้วงอารมณ์ ความตึงเครียดและความทรงจําจากปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ไปเป็นวัตถุภาวะที่มีลักษณะของการแสดงและประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมรอบด้าน เขาเดินบนเส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนบุคคลกับส่วนรวม วิเคราะห์ความเปราะบางของร่างกายมนุษย์ ความรุนแรงที่มีอยู่ประจำในระบบสังคมและความบอบช้ำทางประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็จินตนาการถึงอนุภาคทางเลือกเล็ก ๆ ในความสัมพันธ์ของมนุษย์และสะท้อนปรากฏการณ์ระดับโลก
The Mothers งานจัดวางวีดิทัศน์สองจอของชองแสดงภาพนักร้องกลุ่มหนึ่งกอดกันและเคลื่อนที่ไปด้วยกันเป็นวงกลม ร้องเพลงไว้อาลัยและเพลงกล่อมเด็กหลายภาษา ร่างกายที่เกาะเกี่ยวกันของพวกเขาแสดงการให้กำลังใจ ปลอบใจกันและกันและความโศกเศร้าที่มีร่วมกันผ่านการเคลื่อนไหวและดนตรี เพลงที่เป็นท่อน ๆ เรียบเรียงโดย ดักมาร์ แอกเนอร์ นักดนตรีที่ทำงานกับผู้ไว้อาลัยมานานกว่าทศวรรษ ชองได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ปี พ.ศ. 2465/66 ชื่อเดียวกัน The Mothers ของเคเธอะ คอลล์วิตซ์ ศิลปินเยอรมัน ภาพพิมพ์ชิ้นนี้แสดงภาพผู้หญิงกลุ่มหนึ่งกอดกันด้วยความเศร้าโศกและวิตกกังวล งานวีดิทัศน์ของชองก็แสดงความรู้สึกอันทรงพลังเช่นเดียวกัน นำเสนอแก่นความคิดเรื่องความตาย การเกิดและความเป็นแม่ที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดและเน้นย้ำผลกระทบที่ต่อเนื่องของความบอบช้ำทางจิตใจที่มีอยู่ร่วมกันทั่วโลก
ชองได้รับคัดเลือกจากอาดริอาโน เปโดรซาให้เข้าร่วมแสดงงานในนิทรรศการศิลปะนานาชาติเวนิสเบียนนาเล่ครั้งที่ 60 ซึ่งมีแก่นความคิดหลักว่า ‘Foreigners Everywhere’ ที่เขาเป็นภัณฑารักษ์ ผลงานของชองได้รับการยอมรับจากการจัดแสดงตามที่สำคัญ ๆ เช่น เบียนนาเล่วิเดโอบราซิลครั้งที่ 22 (เซาเปาโล) ฮัมบูร์เกอร์บาห์นฮ็อฟ–หอศิลป์ปัจจุบันแห่งชาติ (เบอร์ลิน) หอศิลปะและนิทรรศการแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (บอนน์) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติ MMCA (โซล) เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติรอตเทอร์ดาม IFFR (รอตเทอร์ดาม) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย MOCA (ไทเป) และเอ็มพลัส (ฮ่องกง) เป็นต้น