From Bones and Bellies

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Backlit film, LED lightbox with steel frame, industrial lacquer
Displayed at
Museum Siam, Discovery Museum

In Mother Tongue, Jasmine Togo-Brisby delves into her Australian South Sea Islander identity through a poignant visit to the Don Juan site in Deborah Bay, Aotearoa New Zealand. Rowing offshore with her mother, who hums an ambiguous song, she reflects on their loss of a mother tongue and cultural rupture. In her Bones and Bellies, the series portrays three generations of South Sea Islanders —herself, her mother, and her daughter— through large-scale lightboxes, bridging and depicting past and present with ancestral narratives in mud and salt. The Don Juan, arriving in Queensland in 1863, transported 67 Ni Vanuatu people to start Australia's first cotton plantation, initiating widespread “blackbirding”—a term for the Pacific slave trade. For South Sea Islanders, this vessel symbolizes ancestral endurance, while the ocean represents both identity and the rupture of forced migration. Togo-Brisby’s work authentically presents these complex relationships without reclaiming or decolonizing but reveals their truth with sincerity. A graduate of Queensland College of Art and Massey University (BFA, MFA), she uses lens-based media, installation, and sculpture. Recent exhibitions include Seeing in the Dark: Busan Biennial (2024), sis: Pacific Art 1980-2023 (Gallery of Modern Art, 2024) and Inner Sanctum: 18th Adelaide Biennial of Australian Art (2024).

ในงาน Mother Tongue จัสมิน โตโก-บริสบีสืบค้นอัตลักษณ์ความเป็นชาวออสเตรเลียหมู่เกาะทะเลใต้ของเธอ ด้วยการไปเยือนจุดที่เรือดอนฮวนเทียบฝั่งอ่าวเดบาราห์ ประเทศเอาเตอารัว นิวซีแลนด์ด้วยความสะเทือนใจ เธอพายเรือออกนอกฝั่งกับแม่ที่ฮัมเพลงที่ฟังไม่ออก เธอใคร่ครวญเรื่องการสูญเสียภาษาแม่และรอยแยกทางวัฒนธรรม งานชุด Bones and Bellies แสดงภาพชาวหมู่เกาะทะเลใต้สามรุ่น ตัวเธอ แม่เธอและลูกสาวเธอในกล่องไฟขนาดใหญ่เชื่อมโยงและแสดงภาพอดีตกับปัจจุบันด้วยเรื่องเล่าของบรรพบุรุษในโคลนตมและเม็ดเกลือ เรือดอนฮวนซึ่งมาถึงรัฐควีนส์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2406 นำชาวเกาะวานูอาตูมา 67 คนเพื่อเป็นแรงงานในไร่ฝ้ายแห่งแรกของประเทศออสเตรเลีย จุดเริ่มการแพร่กระจายของ “แบล็คเบอร์ดิง” (blackbirding) คำที่ใช้เรียกการค้าทาสในมหาสมุทรแปซิฟิก ชาวหมู่เกาะทะเลใต้เห็นว่าเรือลำนี้เป็นสัญลักษณ์ของความอดทนของบรรพบุรุษส่วนมหาสมุทรก็เป็นตัวแทนทั้งอัตลักษณ์และการบังคับย้ายถิ่นฐานซึ่งสร้างรอยแยก ผลงานของโตโก-บริสบีนำเสนอความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนเหล่านี้โดยมิได้เรียกคืนหรือปลดแอกอาณานิคมแต่เปิดเผยความจริงอย่างจริงใจ เธอจบศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตจากวิทยาลัยศิลปะรัฐควีนสแลนด์และศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย

แมสซี ใช้สื่อที่มีเลนส์ ศิลปะจัดวางและประติมากรรมในการทำงาน นิทรรศการล่าสุดได้แก่ “Seeing in the Dark” ปูซานไบเอนเนียล (พ.ศ. 2567) sis: Pacific Art 1980-2023 (หอศิลป์สมัยใหม่, บริสเบน, พ.ศ. 2567) และ “Inner Sanctum” แอดิเลดไบเอนเนียลศิลปะออสเตรเลียครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2567)