Whitewash for Mother Earth

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Mixed media on canvas
Displayed at
Queen Sirikit National Convention Center

Bangkok Art Biennale 2024 presents Kanya Charoensupkul’s works at two venues. At Bangkok Art and Culture Centre (BACC) are 15 works created between 1994 and 1997, representing nature, land, rock, wind, water and waves. At Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC) is a new creation, the artist’s largest work to date, titled Whitewash for Mother Earth, 320 x 1440 cm. This mix of paints, water and sand, natural elements, indicates human destruction of vegetation, nature and layers of atmosphere. We drill into the land for sources of energy, remove and destroy forests which cover the surface of our earth and ignore the issue of the quality of air, our breath of life. We have been ungrateful to Mother Nature, our life giver. Kanya’s image on the canvas then represents Mother Nature’s blood-soaked body, awaiting treatment while the whitewash represents the healing itself.  

Professor Emeritus Kanya Charoensupkul was honored as National Artist in Visual Arts (Mixed Media) in 2023. She has exhibited in several solo and group exhibitions internationally including Lithograph and Ink Painting by Kanya (Bhirasri Institute of Modern Art, Bangkok, 1987); Flower: Stone: Season (Art Gallery, National Museum, Bangkok, 1990); Show Me Thai: Contemporary Art Exhibition (Museum of Contemporary Art, Tokyo, Japan, 2007); and Traces of Siamese Smile: Art + Faith + Politics + Love (BACC, 2008).

บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2024 จัดแสดงผลงานของกัญญา เจริญศุภกุลในสองสถานที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จัดแสดงผลงานจำนวน 15 ชิ้น ที่สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2537 – 2540 แต่ละชิ้นเป็นตัวแทนของธรรมชาติ ผืนดิน ก้อนหิน กระแสลม น้ำ และคลื่น และสำหรับนิทรรศการที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ศิลปินเคยสร้างสรรค์ ความเจ็บปวดรวดร้าวของพระแม่ธรณี ขนาด 320 x 1440 cm เกิดจากการผสมผสานของสี น้ำ และทราย อันเป็นองค์ประกอบของธรรมชาติ และชี้ให้เห็นถึงการทำลายล้างพืชพันธุ์ ธรรมชาติและชั้นบรรยากาศโดยมนุษย์ มนุษย์เราขุดเจาะผืนโลกหาพลังงาน ตัดไม้ทำลายป่าที่ปกคลุมพื้นผิวของโลก และเพิกเฉยแม้กระทั่งคุณภาพอากาศ ซึ่งเป็นลมหายใจแห่งชีวิตของพวกเราเอง มนุษย์เราก็คือผู้อกตัญญูที่ทำลายพระแม่ธรณีผู้เป็นแม่ผู้ให้ชีวิต ภาพที่ปรากฏขึ้นบนผืนผ้าใบของกัญญา จึงเป็นตัวแทนเรือนกายอาบโลหิตของพระแม่ธรณีที่รอการเยียวยารักษา และสีขาวที่ชโลมลงบนผืนผ้าใบ ก็เป็นตัวแทนของการเยียวยารักษานั่นเอง  

ศาสตราจารย์เกียรติคุณกัญญา เจริญศุภกุล ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มมากมาย อาทิเช่น หอศิลป์พีระศรี (พ.ศ. 2530) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (พ.ศ. 2533) SHOW ME THAI (พ.ศ. 2550) ณ Museum of Contemporary Art Tokyo และ รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ + ศรัทธา + การเมือง + ความรัก (พ.ศ. 2551) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)