In March of the Termite, Sawasdee probes the intricate social structures of termite colonies, drawing parallels to human society. The work stems from extensive research into these ancient social insects, whose survival hinges on a rigid caste system.
The artist's fascination lies with the blind worker and soldier termites, their communication limited to pheromones and rhythmic head-banging within their tunnels, and how they are enduring creatures tirelessly decomposing matters for the earth, and are vital to maintaining a healthy balance in the ecosystem. Sawasdee captures these visceral sounds, incorporating them into a performance set to "Worker's March" (มาร์ชกรรมกร), an anthem composed by Thai leftist activist Chit Phumisak (1930-1966).
On stage, Sawasdee, theatrically adorned in a subversive, black-metal-like costume aimed to embody the essence of a termite, even mimicking its head-banging movements. The performance is not a critique or parody of Phumisak's lyrics, but rather a jarring juxtaposition that amplifies and celebrates the song's message. It invites viewers to confront the absurdity of our own societal structures, and questions the inescapability of traditional class systems, persistent undervaluing of labor, and the struggle for equality.
With focus on socio-political and cultural landscapes of Thailand, his practice often engaged with symbols, iconography, and institutional imagery in order to explore how these elements could shape the beliefs and imprint upon the conscious awareness of the public. Recent exhibitions include Absurdity in Paradise, Museum Fridericianum, Kassel, Germany (2018); PostScripts, Praisaneeyakarn (2018); TO WHOM IT MAY CONCERN, Bangkok CityCity Gallery, Bangkok (2017); Mutual Unknown, National Gallery of Indonesia, Jakarta, Indonesia (2017), among others.
ในงาน March of the Termite ณัฐพลศึกษาโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อนของฝูงปลวกโดยเปรียบเทียบให้เห็นว่าคล้ายคลึงกับสังคมมนุษย์ งานเป็นผลมาจากการค้นคว้าที่ครอบคลุมเรื่องแมลงสังคมที่มีมาแต่โบราณพวกนี้ซึ่งความอยู่รอดขึ้นอยู่กับระบบชนชั้นวรรณะที่เข้มงวด
ศิลปินหลงใหลพวกปลวกแรงงานและปลวกทหารตาบอดซึ่งสื่อสารกันได้ด้วยฟีโรโมนและการโขกหัวเป็นจังหวะในโพรงเท่านั้นตลอดจนการที่ปลวกเหล่านี้เป็นสัตว์ที่มีความทนทานสามารถเปลี่ยนธาตุในพื้นดินได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาสมดุลระบบนิเวศ ณัฐพลบันทึกเสียงที่เกิดตามสัญชาตญาณเหล่านี้ นำมาในการแสดงประกอบ “มาร์ชกรรมกร” เพลงสดุดีอันทรงพลังผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ (พ.ศ. 2473-2509) นักกิจกรรมรณรงค์ฝ่ายซ้ายชาวไทย
บนเวทีณัฐพลใส่เครื่องแต่งกายที่ดูเหมือนโลหะสีดำดูก้าวร้าว ตัวทาสีดำและโกนผมซึ่งตั้งใจให้แสดงลักษณะสำคัญของปลวกและทำท่าโขกหัวล้อเลียนด้วย การแสดงมิใช่การวิพากษ์หรือล้อเลียนเนื้อหาในบทเพลงของจิตรแต่เป็นการนำเสนอร่วมกันแบบที่ดูไม่เข้ากันช่วยเพิ่มความหมายและสดุดีเนื้อหาของเพลง เชิญชวนให้ผู้ชมเผชิญความแปลกวิสัยของโครงสร้างทางสังคมของเราและตั้งคำถามกับการที่เราไม่สามารถหลุดพ้นจากระบบชนชั้นแบบดั้งเดิม การด้อยค่าแรงงานที่ยังเกิดขึ้นอยู่และการเรียกร้องความเสมอภาค
การทำงานของณัฐพลเน้นภูมิทัศน์ทางสังคม-การเมืองและวัฒนธรรมของประเทศไทย เขามักใช้สัญลักษณ์ การเขียนรูปลักษณ์และภาพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นสถาบันอย่างการสร้างรูปปั้นและอนุสรณ์สถาน เพื่อสำรวจว่าองค์ประกอบเหล่านี้กำหนดความเชื่อและมีผลกระทบต่อการรับรู้ของประชาชนทั่วไปอย่างไร นิทรรศการในช่วงล่าสุดได้แก่ Absurdity in Paradise (พิพิธภัณฑ์ฟริเดอริตซีอานุม, คัสเซิล, เยอรมนี, พ.ศ. 2561) ป.ล.: PostScripts (ไปรษณียาคาร, พ.ศ. 2561) ถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง: TO WHOM IT MAY CONCERN (บางกอกซิตี้ซิตี้แกลเลอรี, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2560) Mutual Unknown (หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย, พ.ศ. 2560) และอื่น ๆ