Drawing inspiration from the banality of everyday life, science, motherhood, as well as poetry, literature, film, music, and social media, Camille Henrot’s practice encompasses a diverse range of mediums from drawing to installation, and delves into the complexities of existence in our increasingly connected and over-stimulated world.
Grosse Fatigue, one of Henrot’s most groundbreaking pieces, was awarded the Silver Lion at the 2013 Venice Biennial. Made in the context of Henrot’s Smithsonian Artist Research Fellowship in 2012, the film critiques the universalist ambition to represent the totality of the world, a guiding principle that underpins many museum collections.
Incorporating various symbols like the egg and the circle, the film delves into the mythological and scientific strategies that various cultures have employed to tell the story of the beginning of the universe. Within the struggle to embrace such a large idea as ‘the beginning’, the film leans into a sense of helplessness and neurosis that is characteristic of a contemporary culture inundated with information and images. Footages filmed at the Smithsonian collections appear within various computer desktop windows, each with their own frame of reference, drawing a parallel between museums’ obsessive drive to acquire with contemporary consumer culture.
Camille Henrot's works are included in numerous public collections, including the Museum of Modern Art in New York. Notable exhibitions include her solo shows at the Palais de Tokyo, the New Museum, and many others.
กามีย์ อองโรต์อาศัยแรงบันดาลใจจากความน่าเบื่อของชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์ ความเป็นแม่รวมทั้งกวีนิพนธ์ วรรณกรรม ภาพยนตร์ ดนตรีและสื่อสังคมออนไลน์ เธอใช้สื่อหลากหลายประเภทในการทำงานศิลปะตั้งแต่ภาพวาดไปถึงงานศิลปะจัดวาง เธอค้นหารายละเอียดเรื่องความซับซ้อนของการดำรงอยู่ในโลกของเราที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีแรงกระตุ้นมากเกินไป
Grosse Fatigue ผลงานแปลกแนวที่สุดชิ้นหนึ่งของอองโรต์ได้รับรางวัลสิงโตเงินจากเทศกาลเวนิสไบเอนเนียลเมื่อปี พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นระหว่างที่อองโรต์ได้รับทุนวิจัยสำหรับศิลปินจากสถาบันสมิธโซเนียนนี้
วิพากษ์ความทะเยอทะยานแบบพหูสูตที่จะเป็นตัวแทนของสรรพสิ่งในโลก หลักการชี้นำที่สร้างความแข็งแกร่งให้ คอลเลกชันของพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง
ภาพยนตร์ใช้สัญลักษณ์หลากหลายอย่างไข่และวงกลมมาประกอบ ค้นหารายละเอียดของกลยุทธทางเทวตำนานและวิทยาศาสตร์ที่หลาย ๆ วัฒนธรรมใช้ในการเล่าเรื่องจุดกำเนิดของจักรวาล ด้วยความยากลำบากที่จะพูดถึงเรื่องใหญ่ ๆ อย่าง “จุดเริ่มต้น” ภาพยนตร์เอนเอียงไปทางความรู้สึกสิ้นหวังและโรคประสาท ลักษณะประการหนึ่งของวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ท่วมท้นด้วยข้อมูลและภาพ ภาพซึ่งถ่ายทำที่คอลเลคชันต่าง ๆ ของสมิธโซเนียนปรากฏในหน้าต่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหลายหน้าต่างซึ่งต่างมีกรอบอ้างอิงของตัวเอง เปรียบเทียบความหมกมุ่นของพิพิธภัณฑ์ที่จะได้งานศิลปะมาจัดแสดงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมในปัจจุบัน
ผลงานของกามีย์ อองโรต์อยู่ในคอลเลกชันสาธารณะหลายแห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (นิวยอร์ค) นิทรรศการสำคัญ ๆ ได้แก่นิทรรศการเดี่ยวของเธอที่ปาเลส์เดอโตเกียว นิวมิวเซียมและอื่น ๆ อีกมาก