Louise Bourgeois was a French-American artist whose career spanned seven decades. She is one of the most influential figures in modern and contemporary art. Best known for large-scale installations, Bourgeois also produced sculptures, paintings, drawings, and prints about motherhood, sexuality, trauma, and relationships. Her works have been exhibited worldwide and are in major museum collections including the Museum of Modern Art, New York; Guggenheim Museum, Bilbao, Spain; and Mori Art Museum, Tokyo.
In 2005, Bourgeois donated a pair of sculptures titled Hold Me Close to the Tsunami Sculpture Memorial Project at Nopparat Tara National Park in Krabi. Placed in the garden and pool surrounded by tall trees, they depict two pairs of hands in prayer-like pose and, separately, a single child’s hand. Together, they are a deeply emotional tribute.
For Bangkok Art Biennale, Eyes, 1995, a pair of carved granite spheres, relate to introspection. Eyes are often said to be windows to the soul. Placed inside the Miskawan Garden at Wat Pho (Temple of the Reclining Buddha), the round forms with bulging pupils face the giant sacred golden Buddha partially visible through the temple’s windows. Although Eyes relates to seduction and voyeurism, it could also connote visionary insightfulness in Dhamma. The old bodhi tree next to Eyes inside the sanctuary is a sacred space for contemplation and peace.
At BACC, Janus in Leather Jacket, 1968, is a double-sided sculpture suspended in midair. The title refers to the Roman god Janus, whose two faces look into the past and future. Here, Bourgeois creates a more ambiguous image merging both male and female genitalia, and bringing castration and penis envy to mind.
Nature Study, 1984, represents the mother as dog-goddess and protector. A nurturing figure with multiple breasts and a phallus crouches like a sphinx or demigod next to Femme, ca 1960, a headless, voluptuous naked female torso. Placed in a room painted red, a color Bourgeois associated with intense emotion, these sculptures transmute female, particularly maternal, power. They share space with sacred yoni stone carvings from the 15th century Lopburi period.
หลุยส์ บูร์ชัวส์เป็นศิลปินฝรั่งเศส-อเมริกันที่ทำงานอยู่นานถึงเจ็ดทศวรรษและเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในวงการศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย นอกจากงานศิลปะจัดวางขนาดใหญ่ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดแล้วเธอยังทำงานประติมากรรม ภาพเขียน ภาพวาดและภาพพิมพ์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นแม่ เรื่องทางเพศ ความ
ชอกช้ำทางใจและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วย ผลงานของเธอจัดแสดงทั่วโลกและอยู่ในคลังสะสมผลงานของพิพิธภัณฑ์สำคัญ ๆ อย่างพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ นครนิวยอร์ค พิพิธภัณฑ์กุกเกินไฮม์ เมืองบิลเบา ประเทศ สเปนและพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ กรุงโตเกียว
เมื่อปี พ.ศ. 2548 บูร์ชัวส์ได้บริจาคงานประติมากรรมคู่หนึ่งชื่อ Hold Me Close (กอดฉันให้แน่น) ให้โครงการสร้างประติมากรรมอนุสรณ์สถานภัยพิบัติสึนามิไปจัดแสดงที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ งานที่ติดตั้งในสวนและบ่อน้ำรายรอบด้วยต้นไม้นี้เป็นมือสองคู่ประสานกันเหมือนกำลังสวดมนต์ อีกชิ้นหนึ่งเป็นมือเด็กข้างเดียว เมื่อมาอยู่ด้วยกันงานคู่นี้เป็นเครื่องรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวที่เศร้าสะเทือนใจมาก
ที่บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ครั้งนี้งาน Eyes, 1995 รูปทรงกลมเนื้อหินแกรนิตแกะสลักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทบทวนความคิดความรู้สึกตัวเอง เรามักบอกว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ ในสวนมิสกวันที่วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ) ลูกตาทั้งสองที่มีตาดำโปนนี้วางประจันหน้าพระพุทธรูปทองคำศักดิ์สิทธิ์องค์ใหญ่ ถึงแม้ว่างาน Eyes จะเกี่ยวข้องกับการล่อลวงและการชอบถ้ำมองแต่ก็อาจแสดงนัยเรื่องความเข้าใจถ่องแท้ในพระธรรมด้วย ต้นโพธิ์เก่าแก่ข้าง ๆ งาน Eyes ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นที่ของการเพ่งพินิจและความสงบสุข
ที่หอศิลปกรุงเทพฯ งาน Janus in Leather Jacket, 1968 เป็นงานประติมากรรมสองด้านแขวนกลางอากาศ ชื่องานอ้างอิงชื่อยานุส เทพเจ้าโรมันผู้มีสองหน้ามองไปยังอดีตและอนาคต ในงานนี้บูร์ชัวส์สร้างภาพลักษณ์ที่กำกวมด้วยการผสมอวัยวะเพศชายและหญิงเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ชมงานคิดถึงเรื่องการทำหมันและการอิจฉาชายที่มีองคชาติ
งาน Nature Study, 1984 แสดงภาพแม่เป็นเทพีสุนัขและผู้ปกป้องคุ้มครอง รูปผู้ให้การเลี้ยงดูที่มีเต้านมหลายเต้าและองคชาติหมอบอยู่คล้ายนางสฟิงซ์หรือครึ่งเทพจัดแสดงอยู่ข้างงาน Femme, ca 1960 รูปลำตัวผู้หญิงเปลือยไร้ศีรษะที่ดูยั่วเย้า งานประติมากรรมที่ติดตั้งในห้องทาสีแดงสีที่บูร์ชัวส์ใช้แสดงอารมณ์รุนแรงเหล่านี้ปลุกพลังแห่งสตรีเพศโดยเฉพาะผู้เป็นแม่ขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดอยู่ร่วมพื้นที่กับงานแกะสลักหินรูปโยนีจากคริสตศตวรรษที่ 15 สมัยอาณาจักรลพบุรี