Taiki Sakpisit, a Thai filmmaker and visual artist, explores the underlying tensions, conflicts and the sense of anticipation in contemporary Thailand, through precise and sensorial audio-visual assemblage. He uses the techniques and history of cinema to unpack Thailand’s troubled past, using those to embed a resounding political commitment in his films.
Dream Sequence delves into the intertwined processes of remembrance, trauma, and exile, unfolding like a prolonged episodic dream. The film begins in Antony, a Paris suburb where Pridi Banomyong lived during his exile from 1970 to 1983. It constructs a metaphysical dreamscape around the Banomyong family home, capturing the remnants of a past era before the property transferred to Thanathorn Juangroongruangkit, politician and leader of the Progressive Movement. Through a mysterious interplay of shadow and light, the film poetically explores their existential struggles and spiritual quests, seamlessly merging physical and mental landscapes. In its second part, the film transitions to Thailand, unfolding an oneiric landscape where trauma is framed within the physical terrain, mirroring a kaleidoscopic feast of delusion, desperation, oppression, and perpetual nightmares rooted in Thailand's flawed democracy. As viewers traverse the blurred lines between reality and the subconscious, Dream Sequence invites deep reflection on the human psyche and our collective historical and political consciousness.
Sakpisit’s works have been presented at numerous exhibitions and film festivals, including the 14th Gwangju Biennale, the 14th Mercosur Biennial, Internationalen Kurzfilmtage Oberhausen, Dallas Contemporary, and Kunstverein Göttingen, among others. His feature film, The Edge of Daybreak, which premiered at the International Film Festival Rotterdam, won the FIPRESCI award.
ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ นักสร้างภาพยนตร์และศิลปินด้านทัศนศิลป์ชาวไทยสำรวจประเด็นความตึงเครียด ความขัดแย้งสำคัญที่แฝงอยู่ การรอคอยด้วยความคาดหวังในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน ผ่านการนำภาพและเสียงต่าง ๆ มาผสมกันอย่างแม่นยำ เขาใช้เทคนิคและประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์มาเปิดประเด็นอดีตอันเต็มไปด้วยปัญหาของ ประเทศไทย ทำให้ผลงานภาพยนตร์ของเขามีแง่มุมทางการเมืองที่ชัดเจน
ภาพยนตร์เรื่อง Dream Sequence สำรวจกระบวนการการระลึกถึง ความชอกช้ำทางจิตใจและการลี้ภัยที่เกี่ยวพันกันอยู่โดยเผยออกมาแบบความฝันเป็นตอน ๆ ที่ถูกยืดให้ยาวออก ภาพยนตร์เปิดเรื่องที่อองโตนี ย่านชานกรุงปารีสที่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์อาศัยอยู่ช่วงลี้ภัยทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2513-2526 สร้างภาพความฝันเชิงอภิปรัชญาในบริเวณบ้านของครอบครัวพนมยงค์ เก็บภาพส่วนที่ยังคงเหลืออยู่จากสมัยหนึ่งในอดีตก่อนจะถูกโอนกรรมสิทธิ์ไปให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักการเมืองและหัวหน้าคณะก้าวหน้า ด้วยปฏิสัมพันธ์ของเงาและแสง ภาพยนตร์ได้สำรวจปัญหาการดำรงอยู่และการแสวงหาทางจิตวิญญาณ ภาพยนตร์ส่วนที่สองย้ายมาเมืองไทย แสดงภูมิทัศน์แบบความฝันที่ความบอบช้ำทางใจอยู่ในกรอบพื้นที่ทางกายภาพ สะท้อนภาพละลานตาของความเข้าใจผิด ความสิ้นหวัง การกดขี่และฝันร้ายแบบไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งฝังรากอยู่ในประชาธิปไตยแบบกะพร่องกะแพร่งของ ประเทศไทย เมื่อผู้ชมงานเดินข้ามเส้นแบ่งที่ลางเลือนระหว่างความเป็นจริงกับจิตใต้สำนึก Dream Sequence ก็ชวนให้คิดเรื่องจิตวิญญาณของมนุษย์และการรับรู้ร่วมกันในทางการเมืองและประวัติศาสตร์
ผลงานของไทกิจัดแสดงตามนิทรรศการและเทศกาลภาพยนตร์มากมาย อาทิ ควังจูเบียนนาเล่ครั้งที่ 14 เมอร์โคซูร์ไบเอนเนียลครั้งที่ 14 เทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติโอเบอร์เฮาเซิน พิพิธภัณฑ์ศิลปะดัลลัสคอนเท็มโพรารี่และสถาบันศิลปะเกิททิงเงินและอื่น ๆ พญาโศกพิโยคค่ำ: The Edge of Daybreak ผลงานภาพยนตร์เรื่องยาวของเขาได้รับรางวัลจากสมาพันธ์นักวิจารณ์ภาพยนตร์นานาชาติเมื่อครั้งจัดฉายรอบปฐมทัศน์ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติรอตเทอร์ดาม