Prasong Luemuang primarily creates works of art in relation to rural life and local culture and with the mingling of Buddhist philosophy and lifestyle beliefs. Later, he has paid more attention to self-reflection: reflecting birth, aging, illness, death, and the four elements through his intensive meditation practice. He has stayed away from everything around and turned to focus on studying Buddhism, especially meditation practice. His works emphasize diverse feelings and emotions. Some go into deep details and delicacy, while others express fierce and violent emotions, making his works diverse in concept and expression.
For the "Saṃsāra" series, it conveys ferocity through the black and white. At the same time it contains subtlety with details hidden in every element. The concept is that all things, living beings, minds, and consciousness in this universe are born, live, and die as in the circle of birth. Due to lust, clinging, ignorance and lack of awareness or insight into reality, this circle will repeat endlessly. The practice of setting body, speech, and mind in their natural state will create morality, concentration, and wisdom that lead to cleanliness, brightness, and peace. This contributes to destroying the darkness of ignorance and getting free from all ties completely.
“Because of ignorance and not getting down to the facts of the Four Noble Truths, I and you all have to wander in the cycle of existence for such a long time.”
Important awards received during his undergraduate studies include the First Class Honors Certificate, Gold Medal (Painting) for “Lamnam Arahat” in the 34th National Art Exhibition (Bangkok, 1988). He has had numerous exhibitions, such as “60 Years of the Price of Being a Person” (Chiang Mai Art Museum, 2022) and “Crass” (JWD Art Space, Bangkok, 2023). Currently, Ajarn Prasong still works on art every day in his hometown in Lamphun Province, Thailand.
ประสงค์ ลือเมือง เริ่มสร้างสรรค์งานศิลปะจากวิถีชีวิตชนบท และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยผสมผสานปรัชญาพุทธศาสนาและความเชื่อวิถีชีวิต ต่อมาเน้นการพิจารณาตัวตนมากขึ้น สะท้อนการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และธาตุทั้งสี่ จากการปฏิบัติสมาธิที่เข้มข้น โดยตัดเรื่องสิ่งแวดล้อมสภาพรอบตัวออกไปเกือบทั้งหมด หันมาสนใจเรื่องราวทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติธรรม ผลงานของเขาเน้นความรู้สึกและอารมณ์ที่หลากหลาย บางช่วงเน้นรายละเอียดและความปราณีต บางช่วงแสดงอารมณ์ดุเดือด รุนแรง ทำให้งานมีความหลากหลายทางแนวคิดและการแสดงออก
ผลงานชุด "สังสารวัฏ" ถ่ายทอดความดุดันผ่านการใช้สีขาวดำเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงความละเอียดอ่อนด้วยรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในทุกองค์ประกอบ โดยประสงค์กล่าวถึงแนวคิดของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต จิต มโนวิญญาณ ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ที่ล้วนแล้วแต่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยตัณหา อุปาทาน ความไม่รู้และยืดมั่น ถือมั่นเอาไว้ จึงต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารนี้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด การฝึกปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้เกิดศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมน้อมนำ ความสะอาด สว่าง สงบมาเป็นเครื่องประหาร ทำลายความมืดบอดของอวิชชาเหล่านั้นได้ จึงชื่อว่าพ้นจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวงได้อย่างสมบูรณ์
“เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจ ๔ อย่าง เราและพวกเธอทั้งหลายจึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้”
รางวัลสําคัญที่ได้รับช่วงศึกษาในระดับปริญญาตรีเช่น รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญ ทอง (จิตรกรรม) ผลงาน “ลํานําอรหันต์” ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 34 (กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2531) การแสดงผลงานอันเป็นเกียรติประวัติในช่วงชีวิต เช่น “60 ปีราคาความเป็นฅน” (พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่, พ.ศ. 2565); “คราส” โดย ประสงค์ลือเมือง (JWD Art Space กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2566) ในปัจจุบัน อาจารย์ประสงค์ยังคงทํางานศิลปะทุกวัน ณ บ้านเกิดในจังหวัดลําพูน ประเทศไทย