In Groundloop, intergenerational sea voyagers embark on a futuristic journey where the Moana, the ocean, acts as a superhighway connecting Aotearoa New Zealand to Australia. Aboard waka hourua (double-hull canoes), Māori, Pasifika, and Indigenous Australian travelers conclude their voyage on Woolloomooloo’s shores, Gadigal Country. Surrounded by banksia pod architecture and shimmering gadi (grass trees), they celebrate in a vibrant ceremony. As the Māori proverb "Ka mua, ka muri" (walking backward into the future) suggests, Lisa Reihana’s vision loops sci-fi storytelling with ancient First Nations technologies, cultural knowledge and deep care for Country. Lisa Reihana, a multi-disciplinary artist, works in film, sculpture, costume, text, and photography. Since the 1990s, she has greatly influenced contemporary Māori art in Aotearoa New Zealand, renowned for her high production values and nuanced approach, blends contemporary photographic and cinematic languages to explore and represent identity, history, and the intersection of these with place and community. Notable achievements include representing New Zealand at the 2017 Venice Biennale with in Pursuit of Venus [infected] and being named a Member of the New Zealand Order of Merit in 2018.
ในงาน Groundloop นักเดินทะเลหลายรุ่นเริ่มการเดินทางแห่งอนาคตที่ โมอานา หรือมหาสมุทรจะเป็นซูเปอร์ไฮเวย์เชื่อมเอาเตอารัว นิวซีแลนด์กับออสเตรเลีย บน วากา โฮรูอะ (เรือแคนูลำตัวคู่) นักเดินทางชาวเมารี ชาวหมู่เกาะแปซิฟิกและชาวพื้นเมืองออสเตรเลียสิ้นสุดการเดินทางบนชายฝั่งของเมืองวูลลูมูลู ดินแดนกาดิกัล (นครซิดนีย์) รายล้อมด้วยสถาปัตยกรรมฝักแบงค์เซียและต้นกาดี (หญ้าต้น) สะท้อนแสงระยิบระยับพวกเขาประกอบพิธีเฉลิมฉลองกันอย่างมีสีสัน อย่างที่สุภาษิตเมารีว่าไว้ "คา มัว คา มูรี" (เดินถอยหลังไปสู่อนาคต) ลิซ่า
เรฮานาผูกการเล่าเรื่องแบบนิยายวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวัฒนธรรมและความห่วงใยในผืนแผ่นดินของชนพื้นเมืองที่มีมาแต่อดีต ลิซ่า เรฮานาเป็นศิลปินที่ทำงานสหสาขาทั้งภาพยนตร์ ประติมากรรม เครื่องแต่งกาย ตัวบทและถ่ายภาพ ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาเธอมีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะเมารีร่วมสมัยในประเทศเอาเตอารัวหรือนิวซีแลนด์ ด้วยมาตรฐานคุณภาพงานที่สูงและแนวทางที่มีรายละเอียดมาก ผสมผสานภาษาภาพนิ่งและภาพยนตร์เพื่อสำรวจและนำเสนออัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ตลอดจนจุดร่วมของทั้งหมดนี้กับสถานที่และชุมชน ความสำเร็จครั้งสำคัญ ๆ ได้แก่การได้เป็นตัวแทนประเทศนิวซีแลนด์ในเวนิสเบียนนาเล่ 2017 ด้วยนิทรรศการ in Pursuit of Venus [infected] และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Member of the New Zealand Order of Merit เมื่อปี พ.ศ. 2561
การจัดแสดงงาน Groundloop ในบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2024 นี้ได้รับความสนับสนุนบางส่วนจากสถานเอกอัครคราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย