Jedsada Tangtrakulwong graduated from the San Francisco Art Institute, USA and the Slade School of Fine Art, UK. His experimental projects have ventured across media and disciplines, focusing on specific areas frequently connecting the exhibition space and architectural structure leading towards creation of new spaces, both harmonious and alienating. He then expands the contexts of his work to include social, cultural and political issues as well as those concerning nature and the environment. He works with people in many professions and viewers have often become an important element in his work.
A Corner at the Halfway Mark reflects the relations of things and how their existence depends on this interrelationship. Either living or non-living things cannot be by themselves. This series of three works connects learning museums in the Thailand capital and villages of Karen people who live with the nature in the north. The artist uses natural spaces including national parks and parks along the highways as connection space and routes. First, A Space between Mountain and Lowland presents botanical relations as the artist has been inspired by names and shapes of trunks, leaves and colors of vegetation commonly found in natural land reserves and urban parks. Second, for the sculpture The Notes from Lower to Higher, the artist has cut in half the structure of Saranrom Park’s bandstand or octagon-shaped stage, where music performances including those by military brass bands were presented, and substitute its material with that of Karen people’s houses. Third, Breath Sounds of Objects that Are Invisible but Exist seems to be a connecting point of learning museums, national parks, natural tourist attractions and Karen people’s villages.
เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ จบการศึกษาจาก San Francisco Art Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ The Slade School of Fine Art สหราชอาณาจักร เจษฎาเริ่มต้นทำงานในลักษณะของการทดลองที่ข้ามสื่อข้ามศาสตร์ โดยทำงานแบบเจาะจงพื้นที่ที่มักเชื่อมโยงพื้นที่นิทรรศการและโครงสร้างสถาปัตยกรรม สู่การสร้างพื้นที่ใหม่ทั้งที่กลมกลืนและแปลกแยก ก่อนที่จะขยายบริบทในการทำงานมาสู่ประเด็นทางด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง จนถึงความสนใจต่อประเด็นทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทำงานร่วมกับผู้คนจากหลายหลายอาชีพ และมักให้ผู้ชมได้กลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของผลงาน จุดบรรจบระหว่างกลางทางและกลางคัน สะท้อนภาพความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง การดํารงอยู่ของทุกสิ่งล้วนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีกับสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง ผลงานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศไทย กับหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง กลุ่มชนที่ดํารงชีพอยู่กับธรรมชาติทางภาคเหนือของประเทศ โดยใช้พื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางของถนนหลวงเป็นพื้นที่และเส้นทางในเชื่อมโยง ประกอบด้วยผลงาน 3 ชุด ได้แก่ “ช่องว่างระหว่างยอดดอยกับที่ราบ” นำเสนอความสัมพันธ์ทางพฤกษศาสตร์จากแรงบันดาลใจที่ได้จากชื่อ รูปทรงของลําต้น ใบ และสีสันของพันธุ์ไม้ที่พบได้ทั้งในแหล่งสงวนที่ดินตามธรรมชาติและสวนสาธารณะในเมือง “จังหวะของตัวโน้ตนับจากล่างขึ้นบน” ประติมากรรมที่นำโครงสร้างของศาลากระโจมแตร (bandstand) หรือเวทีรูปทรงแปดเหลี่ยมในสวนสราญรมย์ ที่เคยใช้เป็นที่บรรเลงดนตรีหรือแตรวงของทหารมาผ่าครึ่งปรับเปลี่ยนวัสดุให้เป็นวัสดุเดียวกันกับที่ใช้สร้างบ้านของชาวกะเหรี่ยง และ “เสียงหายใจท่ามกลางสิ่งที่มีอยู่จริงแต่มองไม่เห็น” ที่เป็นเสมือนจุดเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ อุทยานแห่งชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง