Spectre System

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Single-channel video, color and sound
Displayed at
Queen Sirikit National Convention Center

Situated in a gaming environment, Spectre System delves into the historical erasure of plantation labour in Southeast Asia by reconstructing marginalized histories through imaginative narratives. The work acknowledges the lingering traces of colonial and capitalist exploitation on the Malay Peninsula, where Malaya, once a prized possession of the British Empire, thrived on the coerced labour of indentured workers from South India. As the computer-generated protagonist navigates the haunting plantation landscape, the sound of heavy breathing underscores the weight of memory and racialized dispossession. Ethereal orbs, like spectral spirits, hover in the air, evoking the unseen. Mesh: Prelude to Spectre System, a vinyl print depicting elongated, contorted arms and hands, mirrors the qualities of rubber in its fluidity and stretch, symbolizing both the malleability and the tension inherent in the histories it represents. These hands, enveloping the viewer, blur the boundaries between body and space, serving as a reminder that our surroundings are imbued with histories and carry the unseen imprint of labor.

Priyageetha Dia works with time-based media and installation. Her practice braid themes of Southeast Asian labor histories, speculation of the tropics, and ancestral memory meeting machine logics. Through archival and field research, she explores nonlinearity and practices of refusal against dominant narratives. Recent exhibitions include the Spirits of Maritime Crossing, collateral event at La Biennale di Venezia, Venice (2024); Arts House, Melbourne (2024); Diriyah Biennale, Saudi (2024); Singapore Art Museum (2023); Kochi-Muziris Biennale, Kerala (2022); National Gallery Singapore (2020), among others.

งานในรูปแบบเกม Spectre System สำรวจการลบประวัติศาสตร์การใช้แรงงานตามสวนยางพาราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการสร้างประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้เป็นชายขอบขึ้นใหม่โดยเรื่องเล่าตามจินตนาการ งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่ายังคงปรากฏร่องรอยของการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนและเจ้าอาณานิคม บนคาบสมุทรมลายูที่มาลายาอดีตสมบัติล้ำค่าของจักรภพอังกฤษรุ่งเรืองขึ้นด้วยแรงงานจ้างจากทางตอนใต้ของประเทศอินเดียซึ่งเป็นระบบการใช้แรงงานทาสแบบแอบแฝง ระหว่างที่ตัวละครเอกที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนจินตภาพคอมพิวเตอร์เดินทางในสวนยางพาราที่ดูหลอน ๆ เสียงหายใจแรง ๆ ก็ย้ำเรื่องภาระของความทรงจำและการถูกยึดทรัพย?สอนด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ วัตถุทรงกลมที่บอบบางเหมือนวิญญาณปีศาจ บินว่อนในอากาศทำให้สิ่งที่ไม่เคยได้เห็นปรากฏขึ้น งานพิมพ์ไวนิล Mesh: Prelude to Spectre System แสดงภาพแขนและมือที่ดึงทำให้ยาวออกและบิดเบี้ยวสะท้อนความไหลลื่นและยืดได้ของยางพารา เป็นสัญลักษณ์ของทั้งการเปลี่ยนแปลงได้และความตึงเครียดที่ฝังอยู่ในประวัติศาสตร์ที่งานนี้เป็นตัวแทน มือเหล่านี้ที่ล้อมรอบตัวผู้ชมงานอยู่ทำให้ขอบเขตของร่างกายกับที่ว่างเลือนลางไป เป็นเครื่องเตือนใจว่าสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราซึมซับประวัติความเป็นมาต่าง ๆ และมีตราประทับที่มองไม่เห็นของแรงงานอยู่ด้วย

ปรียากีธา ดีอาทำงานกับสื่อและศิลปะจัดวางที่เกี่ยวข้องกับเวลา การทำงานศิลปะของเธอผสมผสานแก่นความคิดเรื่องประวัติศาสตร์การใช้แรงงานในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ การเก็งกำไรสินค้าเขตร้อนและตรรกะที่ความทรงจำจากสมัยโบราณมาพบกับจักรกล ด้วยการค้นคว้าทั้งในหอจดหมายเหตุและพื้นที่จริงเธอสำรวจความไม่เป็นเส้นตรงและการกระทำที่เป็นการปฏิเสธเรื่องเล่ากระแสหลัก ช่วงที่ผ่านดีอาได้จัดแสดงผลงานที่นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing: วิญญาณข้ามมหาสมุทร กิจกรรมพิเศษที่เวนิสเบียนนาเล่ (เวนิส, พ.ศ. 2567)
อาร์ตส์เฮาส์ (เมลเบิร์น, พ.ศ. 2567) ดิริยาห์เบียนนาเล่ (ซาอุดีอาระเบีย, พ.ศ. 2567) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (พ.ศ. 2566) โคชิ-มูสิริสเบียนนาเล่ (เคราลา, พ.ศ. 2565) หอศิลป์แห่งชาติ สิงคโปร์ (พ.ศ. 2563) และอื่น ๆ