Story from Plateau stems from Phothyzan's awareness of the lingering impact of unexploded ordnance (UXO) in rural Laos, particularly its devastating consequences for the Lao people. During the Vietnam War, Laos was the most heavily bombed country in the world per capita, and these war remnants continue to plague daily life in rural and farming communities. Unexploded bombs cause a significant number of casualties each year throughout the country. Paradoxically, they are also commonly collected and repurposed by locals for a variety of uses, ranging from constructing canoes and selling them as souvenirs to providing architectural support.
For his research, Phothyzan embarked on a journey spanning thousands of kilometers along the Ho Chi Minh Trail, starting from the northern part of Houaphanh Province and traversing Xiangkhouang Province, Bolikhamxay Province, Khammouane Province, Savannakhet Province, Salavan Province, Sekong Province, and concluding in Attapeu Province. His research revealed that the impact of unexploded bombs was even more profound than he initially realized. This spurred him to create visually appealing sculptures that comment on the nation’s turbulent history and the resilience of its people. His works of art repurpose remnants from the war, specifically bomb shells, carved into shapes that narrate the tales of the Lao people.
The core message Phothyzan aims to convey revolves around the immense and lasting impact of the war on individuals. Countless lives have been destroyed, and many continue to suffer, facing disabilities and hardships that alter their existence permanently.
งาน เรื่องราวจากที่ราบสูง (Story from Plateau) มีที่มาจากการที่บุญโปนตระหนักถึงผลกระทบต่อเนื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ตกค้างอยู่ในชนบทประเทศลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลร้ายที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนลาว ในช่วงสงครามเวียดนามลาวเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร สิ่งที่ตกค้างจากสงครามเหล่านี้ยังคงสร้างความเดือดร้อนให้การดำเนินชีวิตประจำวันตามชุมชนชนบทและชุมชนกสิกรรม ทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากระเบิดที่ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ เป็นเรื่องน่าฉงนที่ชาวบ้านนิยมเก็บเศษอาวุธพวกนี้มาปรับแต่งใช้งาน ปรับใช้งานหลายอย่างตั้งแต่ทำเป็นเรือแคนู ขายเป็นของที่ระลึกไปจนถึงใช้เป็นเสารับน้ำหนักสิ่งก่อสร้าง
บุญโปนค้นคว้าวิจัยด้วยการออกเดินทางเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรตามเส้นทางเดินทัพของโฮจิมินห์ เริ่มจากทางตอนเหนือของแขวงหัวพัน ผ่านแขวงเชียงขวาง แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวัน แขวงเซกองและสิ้นสุดที่แขวงอัตตะปือ บุญโปนพบว่าผลกระทบของระเบิดที่ตกค้างอยู่นั้นรุนแรงกว่าที่เขาเข้าใจแต่แรกเสียอีก ทำให้เขาสร้างงานประติมากรรมที่ดึงดูดความสนใจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ที่โกลาหลของประเทศ และความสามารถในการฟื้นตัวของผู้คน ผลงานศิลปะชิ้นนี้นำสิ่งที่ตกค้างจากสงครามคือปลอกระเบิดมาแกะเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนลาว
แก่นความคิดหลักที่บุญโปนตั้งใจจะสื่อเกี่ยวข้องกับผลกระทบอันมหาศาลและต่อเนื่องของสงครามที่มีต่อผู้คน หลายชีวิตต้องจบลงและอีกหลายชีวิตดำเนินต่อไปอย่างทุกข์ทรมาน ต้องเผชิญกับความพิการและความยากลำบากที่เปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาไปตลอดกาล