Experimental solution 57

(
2024
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Natural pigment from plants on paper, aluminum mold, clips, pine wood, stainless steel wire
Displayed at
Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalaram Rajwaramahawihan

Above from the career background of teaching and creating artworks, Yannawit Kunjaethong is attached to the over 108-rai forest in Khao Yai Subdistrict, Cha-am District, Phetchaburi Province. The place is  where he grew up and then inherited from his father​​. So his absorption and learning about plant conservation became an important creative root for art working.

His nature-inspired artwork began in 1998 with the installation "Bangkok, City of Fa Talai Jone". In 1999, he created a new experiment on "organic prints" from plants in the forest, and had his first exhibition in 2000, "Connect". In 2005, he produced a series of organic prints called "Pa Sa-nguan", dedicated to his father (Sa-nguan Kunjaethong). The series reflects the beauty and value of the forest where his father had conserved more than 1,000 species of plants.

However, the area surrounding his "Pa Sa-nguan", has been sold and changed hands many times before finally being used for the construction of a large solar power plant. Cutting down native trees, burning, and leveling the land to accommodate the construction has destroyed the natural streams. The remaining streams are covered with concrete, so the water flows rapidly and cannot seep into the ground as before. There are moreover thieves digging topsoil to sell. The ecosystem has been changed. Many trees are dying and gradually disappear, which is a pity.

In BAB 2024, Yanawit chose to exhibit his work at Wat Pho and the Bangkok Art and Culture Centre, connecting the ideas between the two locations through the poem “Tiger Crossing the Stream” from the Wat Pho inscription composed by Krommuen Kraisarawichit. A verse says, “Will count the days and nights that will never return,” which deeply affected him. Yanawit took a 40-year-old rosewood tree that had died after the construction of the solar power plant, ground it into powder, and scattered to write the same verse on the floor of the Bangkok Art and Culture Centre and Wat Pho, along with an information wall, to reflect the loss of nature and to question whether solar power in its entirety is truly clean energy.

ญาณวิทย์ กุญแจทอง นอกจากการสอนและทำงานศิลปะแล้ว ยังเติบโตและผูกพันกับผืนป่าที่ได้รับการสืบทอดจากบิดาในพื้นที่กว่า 108 ไร่ที่ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เขาได้ซึมซับและเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งกลายเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะของเขา

ผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติของญาณวิทย์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2541 ด้วยผลงานจัดวางชุด “กรุงเทพฯ เมืองฟ้าทะลายโจร” ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เขาเริ่มทดลองสร้างสรรค์ "ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ" (Organic Print) จากพืชพันธุ์ในป่า และจัดแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ในนิทรรศการ "Connect" ในปี พ.ศ. 2548 ญาณวิทย์ได้สร้างผลงานภาพพิมพ์สีธรรมชาติที่ชื่อว่า “ป่าสงวน” ซึ่งอุทิศให้กับบิดา (สงวน กุญแจทอง) สะท้อนถึงความงดงามและคุณค่าของผืนป่าที่บิดาได้อนุรักษ์พันธุ์ไม้มากกว่า 1,000 ชนิด

อย่างไรก็ตาม พื้นที่โดยรอบไร่ "ป่าสงวน" ได้ถูกขายและเปลี่ยนมือหลายครั้ง จนกลายเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ การตัดต้นไม้พื้นถิ่น การเผา และการปรับที่ดินให้ราบเรียบเพื่อรองรับการก่อสร้าง ทำให้ห้วยน้ำธรรมชาติหายไป ห้วยน้ำที่เหลืออยู่ก็ถูกปกคลุมด้วยคอนกรีต น้ำจึงไหลผ่านอย่างรวดเร็วและไม่สามารถซึมลงใต้ดินได้เหมือนในอดีต นอกจากนี้ ยังมีการขโมยขุดดินไปขาย ทำให้ระบบนิเวศในพื้นที่เปลี่ยนแปลง ต้นไม้หลายชนิดค่อย ๆ ล้มตายและสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย

ในงาน BAB 2024 ญาณวิทย์ได้เลือกจัดแสดงผลงานที่วัดโพธิ์และหอศิลป์กรุงเทพฯ โดยเชื่อมโยงความคิดระหว่างสองสถานที่ ผ่านโคลงกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยจากจารึกวัดโพธิ์ที่ประพันธ์โดยกรมหมื่นไกรสรวิชิต วรรคหนึ่งว่าว่า "จะนับวันคืนลับไม่กลับคืน" สร้างความสะเทือนใจให้เขาอย่างลึกซึ้ง ญาณวิทย์นำต้นพยูงอายุ 40 ปีที่ล้มตายหลังจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มาบดเป็นผงและโรยเป็นประโยคเดียวกันนี้บนพื้นของหอศิลป์กรุงเทพฯ และที่วัดโพธิ์ พร้อมผนังข้อมูล เพื่อสะท้อนถึงความสูญเสียของธรรมชาติ พร้อมตั้งคำถามว่า ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งระบบเป็นพลังสะอาดจริงหรือ